การเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมด้วยแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ใช้สินทรัพย์ทางวัฒนธรรมไทย: กรณี วิสาหกิจชุมชนประเภทผ้า และผลิตภัณฑ์จากผ้า

นลินี ทองประเสริฐ

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนประเภทผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า และทำการคัดเลือกผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนประเภทผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้าในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ที่มีศักยภาพในการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์ นำมาวิเคราะห์ถึงความเชื่อมโยงระหว่างสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาของท้องถิ่นกับแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ตลอดจนจัดทำข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์สำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในท้องที่นั้นๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวจึงใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยการคัดกรองข้อมูล และกำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกจากการประชุมเชิงปฏิบัติการที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่าย ผลการคัดเลือกได้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้าจำนวน 4 ราย ได้แก่

1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาสตรีบ้านศรีฐาน จังหวัดยโสธร 2) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มลุ่มน้ำลำเซบาย จังหวัดอำนาจเจริญ 3) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหม(เสื้อเก็บ) บ้านเมืองน้อย จังหวัดศรีสะเกษ และ 4) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทอผ้าและตัดเย็บชุมชนหมู่ 13 บ้านหนองสนม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งสามารถสรุปผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์การวิจัยได้ 3 ประเด็น ดังนี้

1. จากการศึกษาข้อมูลผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนประเภทผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้าพบว่าวิสาหกิจชุมชนประเภทผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้าในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,354 ราย ประกอบด้วยจังหวัดอุบลราชธานี 437 ราย และมีผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัด คือ ผ้าลายกาบบัว จังหวัดศรีสะเกษ 351 ราย ผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัด คือ ผ้าไหมลายลูกแก้ว จังหวัดยโสธร 310 ราย
ผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัด คือ ผ้าลายผ้าขิด ลายดอกหวาย และจังหวัดอำนาจเจริญ 256 ราย ผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัด คือ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าลายขิด

          2. ผลการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่างสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาของท้องถิ่นกับ
แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนพบว่า วิสาหกิจผู้ผลิตผ้าทอมือจำนวน 2 ราย เป็นผู้ผลิตในเขตพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีผลิตภัณฑ์เดิมเป็นผ้าขาวม้าย้อมสีเคมี 1 ราย และย้อมสีธรรมชาติ 1 ราย ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้มีการพัฒนาเทคนิคการย้อมสีธรรมชาติใหม่โดยเลือกโทนสีที่ตลาดต้องการ นอกจากนั้นยังได้เพิ่มความสวยงามของลายผ้าด้วยเทคนิคเก็บขิดลายใหม่ (ผ้าจังหวัดอำนาจเจริญ) และเทคนิคการทอร่วมกับการเก็บขิดและลายกาบบัว (ผ้าจังหวัดอุบลราชธานี) โดยเปลี่ยนจากผ้าขาวม้าเป็นผ้าผืนหน้ากว้าง 1 เมตร เพื่อให้สามารถแปรรูป
ได้หลากหลายยิ่งขึ้น สำหรับวิสาหกิจผู้ผลิตผ้าทอมือย้อมมะเกลือจังหวัดศรีสะเกษ ได้นำอัตลักษณ์ของเสื้อปักแซ่ว มาสร้างเป็นรูปแบบของกระเป๋าถือสตรีและกลุ่มวิสาหกิจผู้ผลิตหมอนขวาน ในเขตพื้นที่จังหวัดยโสธร
เลือกพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบเบาะรองนั่งที่สามารถนำมาประกอบเป็นที่นอนได้เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดนักท่องเที่ยวทางรถยนต์ที่นิยมเดินทางท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ

หลังจากได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์แล้ว ผู้วิจัยได้มีการทดสอบตลาดของผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจทั้ง 4 กลุ่มโดยกลุ่มวิสาหกิจจังหวัดอำนาจเจริญ ได้แก่ เสื้อผ้าขาวม้าลายขิดย้อมสีธรรมชาติลายหมากชาด และ กระเป๋าถือผ้าขาวม้าย้อมสีธรรมชาติลายปูนา กลุ่มวิสาหกิจจังหวัดอุบลราชธานีได้แก่ เสื้อเชิ้ตสีธรรมชาติสำหรับบุรุษลายตาหม่องและกาบบัว กลุ่มวิสาหกิจจังหวัดศรีสะเกษได้แก่ กระเป๋าสตรีผ้าย้อมมะเกลือลายปักแซ่ว และ กลุ่มผู้ผลิตหมอนสามเหลี่ยม บ้านศรีฐานจังหวัดยโสธรได้แก่ ชุดที่นอนพรัอมหมอนขิด โดยการจัดแสดงในห้างสรรพสินค้าสุนีย์ แกรนด์ จ.อุบลราชธานี ผลการประเมินผลงานการพัฒนากับกลุ่มผู้บริโภคในภาพรวมด้านความพึงพอใจใน 6 ประเด็น คือ ความงาม ประโยชน์ใช้สอย วัสดุที่ใช้ ความโดดเด่นน่าสนใจ ราคา และความสามารถในการผลิตเชิงพาณิชย์ พบว่า ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์มีระดับความพึงพอใจทั้ง 6 ด้านอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน คือ มีค่าคะแนนร้อยละโดยรวมอยู่ในช่วง 81.80 - 87.60 และค่าเฉลี่ย  ในช่วง 4.09 - 4.38 อยู่ในระดับดี

          3. จากผลการวิจัยได้นำเสนอแนวทางสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในท้องที่ 3 แนวทางคือ คือ 1) แนวทางการฟื้นฟูสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมไทยเพื่อใช้ในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน 2) แนวทางยกระดับเครือข่ายการผลิตในชุมชน แบบครบวงจรในพื้นที่ และ 3) แนวทางการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าแบบมีส่วนร่วมระหว่างกลุ่มผู้ผลิต

คำสำคัญ : วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สินทรัพย์ทางวัฒนธรรมไทย วิสาหกิจชุมชนประเภทผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า

 

The objectives of this study were to examine the data involving the cloth and products from cloth community enterprises in Zone 2 of the lower northeastern of Thailand, and selected among those the entrepreneurs with the potential for development in line with the principle of creative economy. The connection between cultural assets or local wisdom, and the development of value-added products was to be analyzed. The strategic suggestion on product and service development was also delivered in this study. To achieve those objectives, Participatory Action Research was utilized with the samples selected on the basis of suitability and feasibility. The selection was done through data screening; and criteria setting in a workshop attended by expert participants from multiple parties. The results of this selection were 4 groups of cloth and products from cloth community enterprises; 1) Women Development Community Enterprise group of Baan Srithan, Yasothon province  2) The Saepai River Basin Community Enterprise group, Amnat Charoen province 3) The Silk Weavers (makers of Seur Keb shirts) Community Enterprise group of Baan Meung Noi, Sisaket province and, 4) The Weaving and Clothes Making Housewives group of Moo 13 ,Baan Nong Sanom, Ubon Ratchathani province.

The results of this study could be summarized in 3 parts:

            1) From the examination of the entrepreneurs data, there was a total of 1354 cloth and products from cloth community enterprises in Zone 2 of the lower northeastern of Thailand. There were 437 entrepreneurs in Ubon Ratchathani, with the Kaab Bua cloth pattern as its product signature, 351 were in Sisaket, with the Look Kaew-patterned silk as a signature product, 310 were in Yasothon, with the Pa Khid and Dok Wai patterns as its signature, and 256 were in Amnat Charoen; with silk, cotton and Pa Khid pattern as signature products.

            2) From the analysis of the connection between cultural assets and the creation of value-added products, a number of enterprises have demonstrated interesting implications of this concept. Two enterprises in Ubon Ratchathani and Amnat Charoen were originally producers of Pha Kao Ma cloth (A generic, multipurpose traditional cloth piece): one enterprise utilized chemical dye, the other used natural dye. The entrepreneurs have developed their products according to market need, and designed a new natural dyeing technique to accommodate such development. The entrepreneur in Amnat Charoen has invented an original stitching technique (Keb Khid) to improve the elaborateness of patterns; while the one in Ubon Ratchathani has developed the combination technique of weaving, Kheb Khid, and Kaab Bua Patterning. The original Pha Kao Ma was transformed into a 1-meter-wide cloth to allow more diverse implications. Additionally, a hand-weaved, Makleu-dyed cloth community enterprise in Sisaket has brought the heritage identity of Pak Seiw Shirt into the designs of their women’s purses; and Kwan pillows makers community enterprise of Yasothon province has reinvented their traditional products into seat cushions that can be assembled into a mattress, as to serve the market need of motor vehicle tourism, which favored overnight stays in the natural attractions.

            After the products were developed according to the creative economy principle, the researchers have tested the market for the 4 enterprise groups’ products: Amnat Charoen’s: Khid-patterned Pa Khao Ma Shirt naturally dyed in Mhak Chad pattern, and Pa Khao Ma women purse naturally dyed in Pu Na pattern; Ubon Ratchathani: Men’s shirt naturally dyed in Ta Mong and Kaab Bua patterns; Sisaket’s: Ma Kleu-dyed women’s purse in Pak Siew pattern and; Yasothon’s: portable mattress and Khid pillows set, made by the Triangle Pillow makers community enterprise of Baan Sri Than. The products were exhibited in Sunee Grand Shopping Mall in Ubon Ratchathani. The results of these developments were evaluated by assessing the overall satisfaction of the consumers in 6 aspects: Beauty, Practicality, Material, Distinctiveness, Price, and Marketability. The 4 products were rated similarly by the consumers, with the mean percentage of 81.80 - 87.60 satisfaction (score 4.09-4.38): a decent result.

            3) Three strategic suggestions have been made to improve the local competitive capability and develop the products and services: 1) Restoration of the Thai cultural asset to be used in community enterprise development 2) Upgrading the community production network, to the level of complete local integration 3) Participatory control of the quality and standards of products between the producer groups.

Key words : small and medium enterprises, creative economy, Thai cultural asset,cloth and product from cloth community enterprises


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.