การจัดการสินค้า OTOP แบบมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการให้เข้าสู่ระดับ 4 ถึง 5 ดาว : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น กุนเชียงเล่าฮั่วกี่

อนุรักษ์ อาทิตย์กวิน, ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช

Abstract


การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นกุนเชียงเล่าฮั่วกี่ รวมถึงเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น “กุนเชียง” จังหวัดลำปางให้เข้าสู่ระดับ OTOP. 4 - 5 ดาว ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจในโรงงานและการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลที่เกี่ยวข้องด้านต่างๆ (Focus group) ซึ่งมีการนำเสนอข้อมูลออกเป็น 4 ส่วนได้แก่ข้อมูลพื้นฐานด้านการประกอบการ,ข้อมูลพื้นฐานด้านการผลิต การตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์, ลักษณะของการบริหารจัดการของผู้ประกอบการกุนเชียงเล่าฮั่วกี่ และการพัฒนารูปแบบและระบบการจัดการของผู้ประกอบการกุนเชียงเล่าฮั่วกี่ โดยเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้คือการสังเกตแบบมีส่วนร่วมควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึก

 ผลการวิจัยพบสภาพปัญหาที่สำคัญคือ ผู้ประกอบการยังไม่มีระบบการบริหารจัดการที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ไม่เน้นการใช้แรงงานและวัตถุดิบหลักในท้องถิ่น ใช้การบริหารแบบระบบครอบครัว ขาดการมีส่วนร่วมจากชุมชนและบุคคลภายนอก รวมถึงขาดการควบคุมคุณภาพการผลิตอย่างเป็นระบบ ส่วนแนวทางจัดการแบ่งออกเป็น 3 แนวทาง ได้แก่ 1) การให้มีส่วนร่วมกับชุมชนทั้งในส่วนของการประชุมร่วมกัน การใช้วัตถุดิบจากชุมชนและการใช้แรงงานชุมชนให้มากขึ้น 2) การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัยทั้งในส่วนของบรรจุภัณฑ์ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากผลิตภัณฑ์ที่เหลือใช้เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางการผลิต 3) ต้องมีการกำหนดมาตรฐานสินค้าและการควบคุมระบบการผลิตให้มีความสม่ำเสมอ

คำสำคัญ : ผู้ประกอบการกุนเชียง, สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์ระดับ 4-5 ดาว, การจัดการธุรกิจ, การพัฒนาและการบริหารจัดการสินค้า OTOP

The purpose of this research was to study the context and environment in business operation of Chinese sausage entrepreneur, i.e. Laow Hua Kee , including the lifting of local Chinese sausage product status toward 4 to 5 stars level. It was a survey research at site and in-depth interview with relevant related parties (Focus Group). The data was divided into 4 sections, i.e. basic data on entrepreneurship, production, marketing, products development, managerial characteristics of Laow Hua Kee Chinese sausage entrepreneur and development model and management system of Laow Hua Kee Chinese sausage entrepreneur. The research tool of this study was the participatory observation, together with the in-depth interview.

The outcomes of research revealed the key important problems that entrepreneur still had no clear concrete management system, no focus on utilizing local manpower and basic raw materials, family business managerial style, lack of participation from the community and outsiders and including the lack of systematic production quality control. The managerial method was split into 3 directions as 1) participation with community on having joint meetings, utilizing raw materials and manpower from community, 2) modern products development on both packaging and products development from waste in order to add production value, and 3) specifying product standard and production control system for uniformity.

Keywords: Chinese Sausage Entrepreneur, OTOP Products, 4-5 Stars Products, Business Management, Development and Management of OTOP Products.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.