ครูภูมิปัญญา บทบาทและคุณค่าในระบบการศึกษา กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงเอกสารและการสานเสวนา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาบทบาทและคุณค่าของครูภูมิปัญญาในระบบการศึกษา และเพื่อเปร

นิภาพรรณ เจนสันติกุล

Abstract


การวิจัยเรื่องครูภูมิปัญญา บทบาทและคุณค่าในระบบการศึกษา กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงเอกสารและการสานเสวนา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อศึกษาบทบาทและคุณค่าของครูภูมิปัญญาในระบบการศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการจัดการเรียนการสอนของครูในระบบการศึกษาและด้วยภูมิปัญญา จำแนกเป็น เนื้อหาการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และพฤติกรรมการเรียน

ผลการวิจัย พบว่า บทบาทของครูภูมิปัญญา คือ เป็นผู้ให้ความรู้แก่เยาวชนทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ชุมชน กิจกรรมในชุมชนเป็นการถ่ายทอดสะท้อนภูมิปัญญาและความเชื่อ อาทิ ความเชื่อเรื่องการนับถือบรรพบุรุษ ความเชื่อเรื่องบุญกรรม ในขณะที่คุณค่าความรู้ของภูมิปัญญาต่างๆ มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากขาดการสืบทอดอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ภูมิปัญญาต่างๆ ยังไม่ได้รับการบันทึกไว้อย่างเป็นระบบ และส่วนใหญ่รับเอาภูมิปัญญาภายนอกเข้ามาอย่างไม่สอดคล้องกับบริบทสภาพของชุมชน นอกจากนั้นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในระบบมีข้อจำกัดในด้านเวลา คะแนน และจำกัดเพียงในห้องเรียน เป็นพฤติกรรมการเรียนแบบแยกส่วน ในขณะที่รูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยภูมิปัญญาจะถ่ายทอดความรู้ด้วยลักษณะการสอดประสานไปกับธรรมชาติและการเข้าถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชน โดยอาศัยประสบการณ์ ค่านิยม พิธีกรรม ความเชื่อ การวัดและประเมินผลจากการถ่ายทอดความรู้ และพฤติกรรมการเรียนเป็นแบบบูรณาการ

คำสำคัญ: ครู ภูมิปัญญา ระบบการศึกษา บทบาท คุณค่า

Research about the local wisdom teachers, the roles and values in education system, case study Phetchaburi Province is a qualitative research, which studies from document and focus group discussion. This research has two objectives 1) to study the roles and values of local wisdom teachers and 2) to compare education model between formal education and local wisdom which is classified by content, measure and evaluation and behavior of learning.

The study showed that

1. The roles of local wisdom teachers are the persons who distribute knowledge to juvenile about historical community, activities which reflect local wisdom and belief such as ancestor and destiny. While the values of local wisdom tend to decline because there is not inheriting continuously. Besides local wisdom is not recorded systematically and the majority brings outside wisdom into community which is not consistent with the context of community.

2. Model of learning showed that formal education has limited time, score and only in the classroom. It is the separated learning behavior or in the other hand, local wisdom is integrated with nature and reached life style and culture of community by experience, value and ritual. The measure and evaluation from knowledge transfering and learning behavior  is like integration.

Keywords: Teacher, Local Wisdom, Educational System, Roles, Values

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.