การศึกษาและเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรมในการประเมินผลการปฏิบัติงาน แรงจูงใจในการทำงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

ชุติมา คุณนะ

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ การรับรู้ ความยุติธรรมในการประเมินผลการปฏิบัติงานและแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน (2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อายุงาน และสายงานของพนักงาน (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความยุติธรรมในการประเมินผลการปฏิบัติงานและแรงจูงใจในการทำงานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 170 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t–test, Oneway ANOVA และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient)

            ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรีอยู่ในระดับสูง ทั้งในด้านการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น ด้านการคำนึงถึงผู้อื่น ด้านการรับผิดชอบให้ความร่วมมือ และด้านความสำนึกในหน้าที่ ยกเว้นด้านความอดทนอดกลั้นอยู่ในระดับปานกลาง

2.  พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานมหาวิทยาลัย ราชภัฏเพชรบุรี พบว่าโดยรวมพนักงานที่มีอายุงานต่างกัน มีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ในด้านการคำนึงถึงผู้อื่น ด้านความอดทนอดกลั้น และด้านการรับผิดชอบให้ความร่วมมือ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่แตกต่าง

3. พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความยุติธรรมในการประเมินผลการปฏิบัติงานและแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ : พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ การรับรู้ความยุติธรรมในการประเมินผลการปฏิบัติงาน แรงจูงใจการทำงาน

The purposes of this research were to study organizational citizenship behaviors, perceptions of justice in the evaluation of work performance, and the work motivation of selected personnel at Phetchaburi Rajabhat University. Furthermore, the researcher compared the organizational citizenship behaviors of these personnel as classified by the demographical characteristics of gender, age, marital status, educational level, length of employment, and area of work. In addition, the researcher examined the relationships between perceptions of justice in the evaluation of work performance, work motivation and organizational citizenship behaviors of these personnel under study.

            The sample population consisted of 170 personnel employed at Phetchaburi Rajabhat University. The instruments of research were a questionnaire eliciting data concerning perceptions of justice in the evaluation of work performance; a questionnaire gathering data concerning work motivation; and a questionnaire involving organizational citizenship behaviors. Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of percentage, mean and standard deviation. In addition, the researcher employed the techniques of t-test and one-way analysis of variance (ANOVA), as well as Pearson’s product moment correlation coefficient method.

            Findings are as follows:

            1. Organizational citizenship behaviors of the personnel under study were evinced at a high level in the following aspects: altruism, courtesy, civic virtue and conscientiousness. The aspect of sportsmanship was expressed at a moderate level.

            2. In considering the expression of organizational citizenship behaviors as classified by the demographical characteristics of the personnel under study, the researcher found that in an overall picture the personnel who differed in length of employment displayed concomitant differences in organizational citizenship behaviors in the aspects of courtesy, fairness, and civic virtue at the statistically significant level of .05. No differences were found in respect to the other aspects.

            3. The researcher also determined that organizational citizenship behaviors were correlated with perceptions of justice in the evaluation of work performance and work motivation as displayed by the subjects under study at the statistically significant level of .01.

Keywords: Organizational citizenship behaviors, Perceptions of justice in the evaluation of work performance, Work motivation


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.