การพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาวิชาชีพครูที่สอดคล้องกับบริบทแม่ฮ่องสอน

รุ่งทิวา มูลสถาน

Abstract


           การวิจัยมีวัตถุประสงค์หลัก 4ประการ เพื่อ (1)วิเคราะห์ความสอดคล้องของรายวิชาที่ใช้ในหลักสูตรครุศาสตราบัณฑิต กลุ่มรายวิชาชีพครูบังคับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2553) ที่วิทยาลัยแม่ฮ่องสอนใช้ในปัจจุบัน กับบริบททางสังคมวัฒนธรรม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของจังหวัดแม่ฮ่องสอน(2)วิเคราะห์สมรรถนะของนักศึกษา วิชาชีพครูที่ควรได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทแม่ฮ่องสอน (3) พัฒนาสาระความรู้และวิธีการจัดการเรียนรู้ ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาวิชาชีพครู และ (4) เพื่อทดลองใช้สาระความรู้ต่อการพัฒนาสมรรถนะ นักศึกษาวิชาชีพครูที่สอดคล้องกับบริบทแม่ฮ่องสอน
           กลุ่มที่ศึกษามี 7 กลุ่ม ผู้วิจัยได้กำหนดเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูพี่เลี้ยงของนักศึกษา วิชาชีพครูสาขาวิชาการประถมศึกษา นักศึกษาวิชาชีพครูวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน และผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก อีก 4 กลุ่ม รวมทั้งสิ้น 116 คน เครื่องมือเก็บข้อมูลมี 6 ประเภท 9 ชุด ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม ประเด็นการประชุมกลุ่มย่อย คู่มือและชุดฝึกการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาวิชาชีพครูวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน และแบบประเมิน ความเหมาะสมและประสิทธิภาพของสาระความรู้ต่อการพัฒนาสมรรถนะ
           ผู้วิจัยสังเคราะห์ข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสารและภาคสนาม รวมทั้งการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา แล้วพัฒนาชุดฝึกการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาวิชาชีพครู ทดลองใช้ชุดแกดังกล่าวกับกลุ่มนักศึกษา วิชาชีพครูวิทยาลัยแม่ฮ่องสอนสาขาวิชาภาษาอังกฤษซั้นปีที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเซิงพรรณนา และวิเคราะห์ เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
           เนื้อหาสาระส่วนใหญ่ตามหลักสูตรมิลักษณะเป็นความรู้ในภาพรวมกว้าง ๆ ตามธรรมชาติในแต่ละรายวิชายังไม่สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของชุมชนแม่ฮ่องสอนสมรรถนะของนักศึกษาวิชาชีพครูที่ควรได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทแม่ฮ่องสอนมิ 2 ด้านหลัก คือ(1)  สมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนตนที่เป็นคนดีมิศีลธรรม คุณธรรม มิความภาคภูมิใจในอาชีพครูด้วยจิตวิญญาณ ความเป็นครู และ (2) สมรรถนะด้านทักษะความรู้ความสามารถ ที่เข้าใจและประยุกต์เนื้อหาการเรียนการสอนให้เหมาะสม กับบริบทของแม่ฮ่องสอนเป็นอย่างดี มิความเป็นอยู่แบบพอเพียงและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน ครอบครัว ชุมชน มิทักษะในการถ่ายทอดความรู้ การสื่อสารใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง และสามารถพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนต่อเนื่อง การได้พัฒนาสาระความรู้และวิธีการจัดการเรียนรู้ขึ้น โดยกำหนดคุณลักษณะ ที่จำเป็นแห่งอนาคต 5 ประการ คือ (1) การพึ่งตนเอง (2) การเอื้ออาทรต่อครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ (3) เป็นมิตรและยอมรับความหลากหลาย (4) รักษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพและระบบนิเวศอย่างอย่างยืน และ (5) ส่งเสริมสุขภาวะของชุมชน แล้วกำหนด 5 หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ คือ (1) บริบทแม่ฮ่องสอนปัจจุบันและที่ควรจะเป็น (2) การประยุกต์ใช้ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงกับวิถีชีวิตซาวแม่ฮ่องสอน (3) การเตรียมความพร้อมของครูวิชาชีพในบทบาทของผู้จัดการเรียน การสอนในอนาคต (4) การแกปฏิบัติภาคสนามเพื่อจัดเก็บข้อมูล และ (5) การถอดบทเรียน
           การทดลองใช้สาระความรู้ต่อการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาวิชาชีพครูวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2556 2 ชั้นตอนหลัก คือ ชั้นเตรียมการและชั้นดำเนินการ โดยมิ 4 องค์ประกอบ คือ (1) ลักษณะ การมิส่วนร่วมและความเป็นกัลยาณมิตร (2) องค์ประกอบเซิงปัจจัยป้อน (3) องค์ประกอบเซิงกระบวนการจัดการเรียน การสอน และ (4) องค์ประกอบเซิงกระบวนการขับเคลื่อน
           ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของการใช้สาระความเต่อการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาวิชาชีพครู พบว่า มีความเหมาะสมที่ครอบคลุม ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความเป็นไปได้ของการนำเนื้อหาสาระความรู้ทั้ง 5 เนื้อหา สาระไปใช้จริง และการยอมรับต่อสาระความรู้ที่ใช้ในการทดลองว่าเป็นประโยชน์และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนา ครูวิชาชีพสำหรับแม่ฮ่องสอน
คำสำคัญ: การพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาวิชาชีพครูของวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน,สาระความรู้และวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม          

           The main objectives of this research were to (1) analyze the co-relation between the subjects, currently used in the professional teacher education curriculum of Mae Hong Son College, and the social, cultural, economic, and environmental contexts of Maehongson province; (2) analyze the professional teachers’ competency that should be developed to conform with the Maehongson contexts; (3) develop the knowledge and learning contents and learning management which appropriate to the teacher students’ capacity; and (4) empirically test the content application with the teacher students’ capacity development to conform with the Maehongson context.
           There were 7 groups of population, which were regarded as the key informants of this study, consisting of the practicum school administrators and primary schools’ tutorial teachers of the teacher students, Mae Hong Son teacher students, and 4 groups of the key informants. Nine sets of six types of research instruments were used to collect data, consisting of questionnaires, documentary analysis issues, focus group discussion issues, manual and training kits, and an evaluation format. Then, the collected data were analyzed, using statistical frequency distribution, percentage, means, standard deviation and descriptive content analysis. The findings were as follows:
           Most curriculum contents used in Mae Hong Son College were found as the knowledge provision in general relating to each subject objectives. They related very little to the Maehongson’s needs, social, cultural, economic, and environmental contexts.
           The teacher students’ competency should be developed to conform with the Maehongson contexts, at least 2 main principles within three categories - general education; majoring subjects, divided into core and elective subjects; and teacher professional training subjects through their classes and practicum schools. Those were the 1) attribute competency of the individual professional teacher students, of which consisted of ethics, morale, and pride toward the teachers’ spirits and professionals, and 2) competency of skills, knowledge, and ability to understand and apply the teaching and learning contents appropriate to the Maehongson context with life sufficiency and good model for students, families and communities. The students should be able to communicate with and transfer knowledge in correct Thai, leading to the right Thai communication usage, and continuing learning and teaching curriculum development.
           Learning contents and management methods were developed within 5 specific needs for the future. Those were: self-reliance; family, community, social and country concerns; friendliness to and acceptance of diversity; sustainable ecological and environmental conservation; and community health promotion. Then, five integrated learning units were designed which consisting of the current and expected Maehongson context, the application of economic sufficiency philosophy, readiness preparation of the professional teachers for the future learning and teaching roles in the future, field data collection practices, and lesson learnt study.
           Two sequential steps, consisting of the preparatory and operational steps of the learning contents for professional teacher competency development, were empirically tested with 4 components, in addition to expert judgments. Those were mutual friendliness and participation, input factors, teaching and learning procedural factors, and driving mechanism factors.
           The empirical test and judgment results indicated a high degree of appropriateness, efficiency, effectiveness, acceptance, and possibility of the learning content and method usage responsive to Maehongson context and professional teacher development measures.
Keywords: Mae Hong Son Professional Teacher Students Competency Development,Appropriate Learning Content Management

          


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.