กระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แคบหมูบ้านหม้อ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

โชติกา ปงแปง, พรชนก ทองลาด, บุญฑวรรณ วิงวอน

Abstract


           การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ทั่วไปของกลุ่มวิสาหกิจผลิตภัณฑ์แคบหมูบ้านหม้อ อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง (2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์แคบหมูบ้านหม้อให้มีคุณภาพมาตรฐานสากล (อย.) และ (3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มผลิตภัณฑ์แคบหมูบ้านหม้อ อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเซิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประชากร คือ สมาซิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แคบหมูบ้านหม้อ หมู่ที่ 12 บ้านหม้อ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จำนวน 39 คน เครื่องมือวิจัย คือ การสำรวจ การสัมภาษณ์ เซิงลึก การเสวนากลุ่ม เทคนิค SWOT และการแกอบรม ตลอดจนการวิเคราะห์เนื้อหา
           ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ทั่วไปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจะมีการดำเนินงานแบบค่อยเป็นค่อยไป ขับเคลื่อน การดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมโดยมีประธานกลุ่มเป็นแกนนำ กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เน้นการดำเนินการ ด้วยการวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านการจัดองค์การจัดคนเข้าทำงานให้เหมาะสมและควบคุมผลการดำเนินงานบนพื้นฐาน ของการมีส่วนร่วมและยึดมั่นในคุณภาพมาตรฐาน (อย.) ตลอดจนเข้าร่วมอบรมความรู้เรื่องกระบวนการเข้าสู่มาตรฐานขายผลิตภัณฑ์ชุมชน และประสานขอรับความช่วยเหลือจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอห้างฉัตร เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ให้ทันสมัย นอกจากนี้ทางกลุ่มได้มีการจัดทำโรงเรือนที่ได้มาตรฐาน เพื่อเข้าสู่มาตรฐาน อย. ด้วยการจดทะเบียนรับรอง ผลิตภัณฑ์อาหารจากสาธารณสุข เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค พบว่า เงินทุน หมุนเวียนไม่เพียงพอ และสถานที่ตั้งไม1เป็นของส่วนรวมเนื่องจากทำการอยู่ที่บ้านของประธานกลุ่มซึ่งในอนาคตจะหา ทำเลที่ตั้งใหม่
คำสำคัญ : วิสาหกิจชุมชน, กระบวนการพัฒนา          

           The purposes of this studies were (1) to study the general situation of Kab Moo product group at Ban Moor, Hang Chat district, Lampang province, (2) to study process in developing Kab Moo products with international quality standard and (3) to analyze problems and obstacles of Kab Moo product group at Ban Moor, Hang Chat district, Lampang province. It was participatory action research with research tools of survey, in-depth interview, group seminar, SWOT technique and training, including the content analysis.
           The outcome of study revealed that the general operation situation was on gradual and participatory basis with chairman as the team lead in product development with focus on the operation with product development plan through the organizing organization structure, organizing appropriate human resource and operation control based on the participation basis and maintain the quality standard, including the attending training on entering process in selling community products standard and coordinating for assistant supports from Community Development Office at Hang Chat district with the aim to develop modem packaging. Furthermore, the group had organized housing structure up to standard by obtaining product certification from Food and Drug, Ministry of Health in order to build consumer trust.

          


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.