การพัฒนาทักษะการวิจัยของนักศึกษาด้วยองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

พรพิมล วิริยะกุล

Abstract


           การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ(1)พัฒนาทักษะการวิจัยจากโจทย์ปัญหาการท่องเที่ยวเซิงสุขภาพอย่างมีคุณภาพ โดยพิจารณาจากการสืบค้นตามแหล่งอ้างอิง และ (2) เปรียบเทียบทักษะการวิจัยจากโจทย์ปัญหาการท่องเที่ยวเซิงสุขภาพ ของนักศึกษาที่จะเป็นครูของท้องถิ่น จำแนกตามการประเมินการสืบค้นข้อมูลโดยมีแหล่งอ้างอิงตั้งแต่ 2 แหล่งขึ้นไป ตัวอย่างในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปี,ที่ 2 สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินการสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ พื้นฐาน และการวิเคราะห์ความแตกต่างด้วยสถิติที
           ผลการวิจัย พบว่า1)ทักษะการวิจัย โดยพิจารณาจากการสืบค้นข้อมูล มิแหล่งอ้างอิงตั้งแต่ 2 แหล่งขึ้นไป ครั้งที่ 1 ทำได้ไม่ถึง ครึ่งค่ามากที่สุด ร้อยละ 46.80 รองลงมาทำได้ ร้อยละ 45.60 และไม่ส่ง ร้อยละ 7.60 ตามลำดับ นักศึกษาได้สืบค้น ข้อมูล โดยมีแหล่งอ้างอิงตั้งแต่ 2 แหล่งขึ้นไปครั้งที่ 2 ทำได้มากที่สุด ร้อยละ 63.30 รองลงมาทำได้ไม่ถึงครึ่งเพียง ร้อยละ 27.80 และไม่ส่ง 8.90 นักศึกษาได้สืบค้นข้อมูล โดยมีแหล่งอ้างอิงตั้งแต่ 2 แหล่งขึ้นไปครั้งที่ 3 ทำได้มากที่สุด ร้อยละ 62.00 รองลงมาทำได้ไม1ถึงครึ่ง ร้อยละ 22.80 และไม่ส่ง ร้อยละ 15.20 ตามลำดับ นักศึกษาได้สืบค้นข้อมูล โดยมีแหล่งอ้างอิงตั้งแต่ 2 แหล่งขึ้นไปครั้งที่ 4 โดยศึกษาจากสถานที่จริง ทำได้มากที่สุด ร้อยละ 86.10 รองลงมาไม่ส่ง ร้อยละ 11.40 และทำได้ไม่ถึงครึ่ง ร้อยละ 2.50 ตามลำดับ2)การประเมินการสืบค้นข้อมูลโดยมีแหล่งอ้างอิงตั้งแต่ 2 แหล่งขึ้นไประหว่างครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 4 แตกต่างกันอย่างมินัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เนื่องจากนักศึกษาสนใจการศึกษาเรียนรู้จากสถานที่จริงมากกว่าการสืบค้นข้อมูล
คำสำคัญ : การพัฒนาทักษะการวิจัยของนักศึกษา, องค์ความรู้, การท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ          

           The purposes of the research were (1) to develop research skills on knowledge of health tourism with quality from the research sources and (2) to compare the research skills on health tourism of students who would become local teachers. The samples in this research were the second year bachelor degree students, social study department, faculty of education, Rajabhat Rajanagarindra University, Chacheongsao province. The statistical methods used were basic statistics and paired samples t-test.
           The research found that (1) students searching data from two or more sources. On the first searching could achieve less than half with the highest score was 46.80%, the second highest was 45.60% and 7.60% did not submit, respectively. On second searching, the highest score was 63.30%, next could only achieve less than a half was 27.80%, with 8.90% did not submit. On third searching, the highest score was 62.00%, next could only achieve less than a half of 22.80% and with not submit of 15.20%. On forth searching from the actual location, the highest score was 86.10% and 11.40% did not submit. (2) the evaluation of students searching data from over two sources between first searching and fourth searching, the difference had statistical significance level of .01 since students had shown interest on learning from the visit of the actual location area over from the searching data.
Keywords : Development Teacher, Knowledge, Health Tourism

          


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.