ประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร

วาสนา จรูญศรีโชติกำจร, สุภาภรณ์ หมั่นหา, การันต์ เจริญสุวรรณ, กนิษฐา ศรีภิรมย์, วรางค์ รามบุตร, ชลธิชา แสงงาม

Abstract


บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบเชิงผสมผสาน (Mixed Methodology) ของบริบทแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดกำแพงเพชร โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทและระบบการจัดการโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยว 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยการจัดการโลจิสติกส์ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์  ซึ่งได้เก็บรวบรวมข้อมูลแบบทุติยภูมิ การสัมภาษณ์เชิงลึก การอภิปรายกลุ่ม และการเก็บแบบสอบถามนักท่องเที่ยวไทยจำนวน 400 ชุด โดยใช้สถิติแบบบรรยาย คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา จากการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร ผลการวิจัย พบว่า แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม 5 ลำดับแรก คือ 1) บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง (บึงสาป) 2) อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร 3) อุทยานแห่งชาติคลองลาน 4) อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ 5) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร ซึ่งระดับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อองค์ประกอบของโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในภาพรวม มีความคิดเห็นในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัย พบว่า ปัจจัยการจัดการโลจิสติกส์ด้านการบริการลูกค้ามีค่าเฉลี่ยสูงสุด และปัจจัยการจัดการโลจิสติกส์ด้านการไหลทางสารสนเทศมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ข้อเสนอแนะที่ได้ พบว่า ควรมีการพัฒนาสภาพเส้นทางการจราจรให้ดีขึ้น พัฒนาการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและป้ายบอกทางให้ชัดเจน รวมถึงการพัฒนาระบบการขนส่งมวลชนที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยว โดยมีหน่วยงานภาครัฐเป็นผู้รับผิดชอบให้การสนับสนุนทั้งด้านสาธารณูปโภคและด้านงบประมาณ

คำสำคัญ : ประสิทธิภาพ, การจัดการโลจิสติกส์, แหล่งท่องเที่ยว 

Abstract

This research is a mixed methodology of tourism context in Kamphaeng Phet province, which aims 1) to study the context and logistics management system of tourist resources, 2) to explore the components of logistics management factors of tourist resources, and 3) to consider the development of logistic management efficiency of tourist resources. The samples employed 400 Thai tourists of questionnaires, the in-depth interviews of 103 stakeholders and focused group with 130 participants by purposive sampling respectively. Then, the content analysis from both of the in-depth interviews and focused group are shown the results as follow:

Kamphaeng Phet province has five popular tourist resources as: 1) Hot Spring Phra Ruang, 2) Kamphaeng Phet Historical Park, 3) KhlongLan National Park, 4) Mae Wong National Park, and 5) Kamphaeng Phet National Museum, respectively. The comprehensive opinion degrees of tourists to the tourism logistics components are at high level. Meanwhile, the participant opinions of community found that the preparation of tourism logistics in the community is quite good. The community requires for improvement and more channels of transportation which is prompt including, convenience, swiftness, and safety by the government supports involves infrastructure, budgets, and the development participation of community. The opinion of the entrepreneur was found that the tourism logistics to tourist resources in Kampheang Phet areas are lack of the resource readiness such as a few of the public transport, especially in a period of low-season which has effect on fewer tourists. So, the recommendations should provide more activities, continually encouragement to public relation and share the knowledge relate to the product distribution zoning which is approached to tourists. The opinion of the community leaders found that the tourism logistics has readiness resources for the tourists and requires government organization to provide more channels and the convenience of transportations. The opinion of the government officers found that the readiness of the tourism logistics in transport physical is convenience, service mind of officers, but lack of public transportation system for supporting tourism at the bus stations. Hence, the government organizations should provide budgets to support and construct infrastructure for solving this problem.

Keywords : Efficiency, Logistic Management, Tourist Attraction


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.