ตลาดนัดชุมชนเป็นเศรษฐกิจฐานรากของจุดเริ่มต้นของกระบวนการโลจิสติกส์: กรณีศึกษาตลาดนัดชุมชนบริเวณสนามกีฬาเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

สุชานาถ พัฒนวงศ์งาม

Abstract


                                                     บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัย ตลาดนัดชุมชนถือเป็นแหล่งสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนของท้องถิ่น ที่ยังมีเสน่ห์คู่สังคมไทยที่ผู้บริโภคยังให้การยอมรับท่ามกลางความเจริญและการแข่งขันที่สูงจากห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ต่างขยายรุกคืบเข้ามาสู่ในพื้นที่อย่างมากมาย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาบริบทและวิเคราะห์ปริมาณเงินหมุนเวียนที่เกิดรายได้จากการค้าขายของตลาดนัดชุมชน 2) เพื่อศึกษาฐานข้อมูลของผู้ขายในตลาดนัดที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจชุมชน 3) ศึกษาบทบาทของตลาดนัดชุมชนที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน วิธีการศึกษา โดยการสัมภาษณ์ ผู้ประกอบการ/ผู้ค้า เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐและเก็บข้อมูลรายได้ยอดจำหน่ายสินค้าจากสมุดบันทึกข้อมูลของคณะกรรมการตลาด ประชากรที่ศึกษา ผู้ประกอบการรวม 159 ราย ผลการวิจัยพบว่า ตลาดนัดนี้ประกอบด้วยตลาดวิสาหกิจชุมชนและตลาดเกษตรกร ตลาดนัดทั้ง 2 แห่ง มีเงินรายได้จากการจำหน่ายมียอดประมาณ 50 ล้านบาทต่อปี ที่เกิดจากตลาดนัดวิสาหกิจชุมชนประมาณ 40 ล้านบาทต่อปี และจากตลาดเกษตรกรที่เน้นจำหน่ายพืชผัก ผลไม้ปลอดสารพิษจากท้องถิ่นประมาณ 10 ล้านบาทต่อปี   จุดขายที่ทำให้ตลาดนัดชุมชนเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เนื่องจากมีสินค้าที่มาจากหลายท้องถิ่น และมีตามฤดูกาลที่หมุนเวียนไปทำให้มีความหลากหลายที่แตกต่างและไม่มีในตลาดประจำหรือในห้างสรรพสินค้า ผู้ค้ามีอัธยาศัยที่ดีแบบคนพื้นบ้าน สามารถต่อรองราคาได้ มีการลด แจก แถม เนื่องจากเป็นผลผลิตที่ตนเองผลิตเองและนำมาจากแหล่งผลิตโดยตรง ร้านค้าตั้งแบบง่าย ๆ ตามวัฒนธรรมของตน จึงเป็นเสน่ห์และมีสีสันที่เหมือนกึ่งมาเดินเที่ยวกึ่งมาซื้อสินค้าหาของกินที่แปลก ๆ อาหารเพื่อสุขภาพ และเป็นผลผลิตที่มีความปลอดภัยมีหน่วยงานราชการรับรอง พื้นที่ตลาดนัดแห่งนี้ตั้งอยู่ในชุมชนในเมือง การคมนาคมสะดวก ใกล้ศูนย์ราชการ โรงพยาบาล และสถานศึกษา ซึ่งการที่ผลผลิตจากท้องถิ่นสู่ตลาดนัดชุมชนจึงเป็นจุดของกระบวนการโลจิสติกส์ ที่สร้างเศรษฐกิจฐานรากแก่ชุมชนเป็นการเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมต้นน้ำของเครือข่ายผู้ผลิตสินค้าในชุมชน โดยมีผู้ค้าที่ผันตัวเองจากผู้ผลิตทำหน้าที่รวบรวมผลผลิตของสมาชิก ขนส่งสินค้า และกระจายผลผลิตที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดนัดชุมชนถือเป็นกลางน้ำ ไปยังผู้บริโภคปลายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้บริโภคได้รับความพึงพอใจต่อผลผลิตที่สดใหม่ เชื่อถือได้ ราคาไม่สูงเมื่อเทียบกับคุณภาพที่ได้รับ เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ที่เอื้อต่อการพัฒนาอาชีพ สังคม วัฒนธรรม และผู้คนให้เข็มแข็ง ยั่งยืน และลดการพึ่งพิง

คำสำคัญ:  ตลาดนัดชุมชน,  เศรษฐกิจฐานราก,  เศรษฐกิจชุมชน, โลจิสติกส์


                                                     Abstract

            A community market is the unique resource of economic rotation in the local community, which is still charming and well-accepted by consumers among the growth and stiff competition from big malls, wholesalers, retailers, and convenience stores.  The objectives of this study were 1) to study the context and analyze the amount of money spent on merchandise circulating through the community market held in the area of Chachoengsao Municipal Stadium, 2) to explore the database regarding the market's direct effects on the community’s economy, and 3) to examine the roles of community market influencing the strengthening of the community. The research instruments were interviews with entrepreneurs/merchants and officials of government agencies.  The data of income from merchandising were collected from the records of the Market Committee.  The target group to be studied was 203 merchants from two component markets: Community Enterprise Market, and the agricultural market, however, 159 merchants were selected to be studied in this research.  The results of this research were:  the community market consisted of Community Enterprise Market and Agricultural Market.  The income from merchandising was 50 million baht per year; 40 million baht from permanent merchants of Community Enterprise Market, and 10 million baht from agriculturists selling agricultural products.  The selling point to make this community market very popular is a variety of products from many local places.  The products are also different according to the season and are not commonly found in department stores.  In addition, most of the merchants are kind, friendly, and usually offer discount for customers as they made or brought the products from the origins by themselves.  Since the products are sold on the traditional local temporary stalls, which are not commonly found in the city, it creates the fantastic atmosphere combining shopping and sightseeing and it is worth for visiting. The products are also healthy and certified by the official organization. Furthermore, the location of this community market is convenient and easy to access, close to government agencies, a hospital, and institutes. Transferring local products to the community market is the starting point of logistics process which helps strengthen the economic foundation for the community.  Also, it is the association among upstream comprising of activities done by network of product makers in the community, midstream which is collecting, transporting, and distributing quality products to the community market, and downstream in which the consumers will be satisfied by with the fresh food and the price is reasonable, compared with the good quality.  Due to the community market, people in the community will have jobs, income, and it also creates the economic rotation in the community, which is beneficial for career development, society, culture, and to increase sustainable living and reducing dependency.

Keywords :  Flee/Flea Market, Foundation Economy, Community Economy, Logistics


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.