แนวทางการสอดประสานวิถีไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ห่วงโซ่อาหารเพื่อเพิ่มคุณค่า และมูลค่าการท่องเที่ยว

ณัฎฐกานต์ พฤกษ์สรนันทน์, จุฑามาศ วิศาลสิงห์, ฐานกาญจน์ วงศ์วิศิษฎ์ศิลป์

Abstract


บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัตถุดิบท้องถิ่นในพื้นที่วิจัยที่สามารถนำมาประยุกต์และนำเสนอเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างคุณค่าให้อาหารท้องถิ่นต่อไปได้ และเพื่อวิเคราะห์หาแนวทางพัฒนาห่วงโซ่อุปทานอาหารในพื้นที่สู่การท่องเที่ยวเชิงอาหาร อีกทั้งเพื่อศึกษาและวิเคราะห์หาแนวทางการเพิ่มมูลค่าของอาหารจากแบบวิถีไทยในท้องถิ่นสู่การท่องเที่ยวเชิงอาหาร โดยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่มย่อย จากการศึกษาห่วงโซ่อาหารในชุมชนเพิ่มเพื่อคุณค่าและมูลค่าทางการท่องเที่ยว จึงนำเสนออาหารเพื่อเป็นตัวอย่างในการออกแบบประสบการณ์ทางการท่องเที่ยวให้เข้าถึงเรื่องราวท้องถิ่น ผ่านประสาทสัมผัส  อีกทั้ง เป็นการเพิ่มมูลค่าในแหล่งท่องเที่ยวด้วยอาหารไทยท้องถิ่นอีกด้วย เป็นการเพิ่มคุณค่าของอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่สามารถแสดงออกผ่านศิลปะบนจานอาหาร วิธีการศึกษาผ่านการสืบค้นเกิดจากกรอบแนวคิด 3 เสาหลักของวิถีไทย ความเป็นไทย คือ ธรรมชาติ ชีวิต และศิลปะ ซึ่งถือเป็นกรอบแนวคิดวิจัยในการศึกษากรณีศึกษาใน 3 พื้นที่ แบ่งตามเกณฑ์ของการเข้ามาซึ่งทุนนิยม และระดับการพัฒนาการท่องเที่ยว อันได้แก่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม และชุมชนบ้านไร่กองขิง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาของโครงการวิจัยนี้ค้นพบวัตถุดิบหลักในท้องถิ่น และเมนูท้องถิ่นที่ถูกเพิ่มมูลค่าในแต่ละพื้นที่ ผ่านกระบวนการสืบค้น (Content) ร้อยเรียง (Concept) และออกแบบ (Design) นับว่าเป็นแนวทางเชิงยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนวิถีไทยและสอดประสานในสินค้าและบริการท่องเที่ยว

คำสำคัญ : การท่องเที่ยวโดยชุมชน, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, การท่องเที่ยวเชิงศิลปะอาหาร, สันถวไมตรีแห่งอาหาร, การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

 

Abstract

            The research objectives aim to study the local ingredients in the research area to apply and add value to local food. Then, it has been analyzed the method to develop food supply chain into food tourism. Moreover, this research analyzed value added gastronomic tourism in Thainess. This study used qualitative research with in-depth interview and focus groups to find ways to integrate Thainess and local wisdom by studying local food supply chain to add value and value creation. Then, this research presented food as an example in designing the tourism experience. It purposes to access the local stories through human senses, also adds value in the tourist attraction and local Thai food as well. It enhances the value of local identity that can be expressed through food art. The research is based on the three pillars of the Thai way of life: nature, life, and art. It is a framework for research in case studies in three areas based on the criteria of capitalism and the level of tourism development, including Muang District in Chiang Mai Province, Muang District in SamutSongkhram Province, and Ban Rai Kong Khing community in Chiangmai Province. These research findings uncovered local raw materials for value added to local menus for tourists in each area. Through the process of searching for content, conceptualizing all concept and designing is a strategic approach to drive the Thainess and integrate tourism goods and services.

Keywords : Community-based Tourism, Creative Tourism, Gastronomic Tourism, Gastro diplomacy, Sustainable Tourism Development


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.