การใช้วิจารณญาณในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ในสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 5

จิรัฐติกาล วุฒิพันธุ์, กฑิตา พันธ์ยาง, กนกวรรณ คำเพ็ง, จิรประภา สุขสม, ธนัชพร ใจบุญ, ปรีดี โสดาดง, สุจิตรา ทองไลย์

Abstract


บทคัดย่อ

                 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้วิจารณญาณในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ในสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 5 โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ ในสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 5 จำนวน 126 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ F - test (ANOVA)  การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ (Multiple Correlation Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ  (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่าผู้สอบบัญชีสหกรณ์ที่มีสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้วิจารณญาณในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพโดยรวม แตกต่างกัน และผู้สอบบัญชีสหกรณ์ที่มีประสบการณ์ และสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสอบบัญชีโดยรวม แตกต่างกัน 

                 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่า 1) การใช้วิจารณญาณในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านวิจารณญาณในการช่างสงสัย มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสอบบัญชี ด้านความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงิน และ 2) การใช้วิจารณญาณในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านการตระหนักถึงความเสี่ยงในการสอบบัญชี มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสอบบัญชี ด้านความเพียงพอและเหมาะสมของหลักฐานการสอบบัญชี ด้านการปฏิบัติงานถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ และด้านความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงิน

คำสำคัญ : การใช้วิจารณญาณในการสังเกตและสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสอบบัญชี, ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 5

 

Abstract

                         The purpose of this study was to investigate Professional Skepticism and Audit Efficiency for Cooperative Auditor in Co-Operative Office Region 5. The data were collected from 126 cooperative auditors in the Cooperative Auditing Office Region 5, and used the questionnaires as a tool.  The data were analyzed by using F-test (ANOVA), multiple correlation analysis, and multiple regression analysis in the Ordinary least Square (OLS) regression as the method used for testing the hypothesis. The results showed that cooperative auditors with cooperative audit offices performed different tasks have different opinions on the use of Professional Skepticism as a whole. Besides, experienced cooperative auditors and the Cooperative Auditing Office, which works differently, have different opinions on the overall efficient performance of the audit work as well.

                 The analysis of the relationship and impacts found that  1) The professional skepticism including, questioning mind has positive relationships on audit efficiency, financial statement reliability, and  2) Professional Skepticism of cooperative auditors including audit risk awareness has positive relationships on audit efficiency, sufficient appropriate audit, evidence professional standards, and the financial statement reliability.

Keywords : Professional Skepticism, Audit Efficiency, Cooperative Auditor in Co-Operative Office Region 5


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.