กระบวนการเรียนรู้และการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและอ่างทอง

วันทนา เนาว์วัน, ลำยอง ปลั่งกลาง

Abstract


บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1) ศึกษากระบวนการเรียนรู้ และการจัดการความรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและอ่างทอง และ 2)  เพื่อสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่มุ่งพัฒนานักวิจัยและชุมชนไปพร้อมกัน กลุ่มเป้าหมายผู้ร่วมวิจัยคือ นักวิจัย ผู้นำและสมาชิกกลุ่มธุรกิจชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง รวม 8 กลุ่ม 32 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงจากกลุ่มผู้ผลิตเครื่องจักสาน  การรวบรวมข้อมูลทำโดยการรวบรวมจากเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการศึกษาดูงาน  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์อุปนัย

            ผลจากการวิจัย พบว่า กลุ่มธุรกิจชุมชนมีกระบวนการเรียนรู้ ด้านทิศทางดำเนินงาน การวางแผน การตลาด การจัดการเรียนรู้ การบริหารสมาชิก การจัดการสินค้า และผลลัพธ์การดำเนินงาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยกลุ่มที่มีกระบวนการเรียนรู้ในระดับดี 5 กลุ่ม อยู่ในระดับปานกลาง 2 กลุ่ม และต้องปรับปรุง 1 กลุ่ม  ส่วนการจัดการความรู้โดยภาพรวมพบว่า 1) การกำหนดความรู้เกิดจากการตัดสินใจผลิตเครื่องจักสานด้วยตนเองมากที่สุด 2) การสร้างและแสวงหาความรู้มาจากการนำความรู้เดิมมาปรับปรุงพัฒนาขึ้น โดยมีวิธีการสร้างความรู้จากสมาชิกกลุ่มเป็นหลัก 3) การใช้และพัฒนาความรู้ พบว่า เป็นการนำข้อมูลองค์ความรู้ที่ได้มาจากการสร้างและแสวงหามาปรึกษาและร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มเป็นส่วนใหญ่ 4) การกระจายความรู้  พบว่าส่วนใหญ่เป็นการทำให้ดูแล้วให้ทำตามหรือการสาธิต 5) การเก็บรักษาความรู้พบว่า ส่วนใหญ่ผู้จักสานจดจำด้วยตนเอง

            การสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดำเนินการโดยมีการมีส่วนร่วมประกอบด้วยกิจกรรมการจัดประชุมสนทนากลุ่มเพื่อศึกษาข้อมูลบริบทกลุ่มธุรกิจชุมชน ศึกษาผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน ศึกษากระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ไปพร้อมๆ กัน เกิดเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ ผ่านการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนตามความต้องการ ได้แก่ การจัดทำแผนธุรกิจ และการพัฒนารูปแบบเครื่องจักสาน โดยมีศูนย์บ่มเพาะธุรกิจชุมชน คณะวิทยาการจัดการร่วมดำเนินการขับเคลื่อน มีการศึกษาดูงานในแหล่งจักสานที่มีชื่อเสียงในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จัดสัมมนาสรุปผลการดำเนินงานสร้างเครือข่าย ผ่านการลงนามข้อตกลงร่วมมือกัน

คำสำคัญ : กระบวนการเรียนรู้, การจัดการความรู้, พัฒนาทรัพยากรมนุษย์, ผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน

Abstract

                This research aims 1) to study the learning process and knowledge management to lead to human resource development on the potential of community business entrepreneurs in Phranakhon Si Ayutthaya and Angthong and 2) to build a network to exchange business learning of the community business entrepreneurs. This is a participatory action research aiming at developing researchers and communities along the way. The target audience is researchers, leaders and members of the community business group in PhraNakhon Si Ayutthaya and Angthong province including 8 groups of 32 persons by purposive sampling from the basketry manufacturer group.   Data collection is done by gathering from documents, observation, interviews, group discussions, and technical visit study. Data were analyzed by content analysis and inductive analysis.           

                 The results found that community business groups have a learning process in operational direction, planning, marketing, learning, member administration, product management, and operational results the overall level is moderate. The groups with good learning process were 4 groups, at moderate level 3 groups and 1 improvement group. But the overall knowledge management found that 1) Determining knowledge is from a decision to produce the basketry by their own the most. 2) Creating and seeking knowledge comes from the use of former knowledge to improve and develop. There is a way to create knowledge from group members. 3) The use and development of knowledge is the introduction of knowledge acquired from the creation and the quest to consult and jointly develop products to be identity of the majority. 4) Dissemination of knowledge is found that most of them are made from observing or demonstration. 5) Knowledge retention is found that most of them remember by themselves.               

            The networking exchange of learning activities is conducted through participation with group discussion sessions for community business context information, study wicker products, study the learning process, and knowledge management at the same time. It occurs as an informal exchange network, through the training of potential in the community business entrepreneurs needs such as business plan and the development of wicker patterns by the business community center. The Faculty of Management Science joins the driving operation. There is a study by visiting in the famous basketry in PhanatNikhom, Chonburi Province, organize seminar on network performance through the signing of a cooperative agreement.

Keywords : Learning Process, Knowledge Management, Human Resources Development, Community Business Entrepreneurs


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.