คำคล้องจองสี่พยางค์ในภาษาถิ่นล้านนา : การวิเคราะห์วิธีการคล้องจอง ความหมายหลัก และความหมายรอง

อรทัย ใจซื่อ, สนม ครุฑเมือง

Abstract


           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วิธีการคล้องจองความหมายหลักและความหมายรองของคำคล้องจอง สี่พยางค์ในภาษาถิ่นล้านนา ข้อมูลประกอบด้วยสำนวนในภาษาถิ่นล้านนาจำนวน 842 สำนวน ที่ได้จากเอกสารวัฒนธรรม ของ 8 จังหวัดในเขตภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง และ ลำพูน ซึ่งใช้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 เป็นแนวบรรทัดฐานของการวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งใช้ พจนานุกรมฉบับอื่น ๆ ประกอบการศึกษา ทั้งนี้ได้ใช้กรอบการวิเคราะห์จำนวน 2 กรอบ คือ กรอบวิธีการคล้องจอง และกรอบการวิเคราะห์ความหมาย กรอบวิธีการคล้องจองประกอบด้วย 5วิธีได้แก่ (1)การนำคำซ้อน 1 คำมาเพิ่ม พยางค์หรือเพิ่มคำ (2) การนำคำ 2 คำมาวางสลับที่กัน (3) การใช้เสียงสัมผัส (4) การซ้ำคำ และ (5) การนำคำมาเพิ่ม พยางค์แต่ไม่ซ้ำคำ ส่วนการวิเคราะห์ความหมายหลักและความหมายรอง ใช้กรอบการวิเคราะห์ความหมายประกอบด้วย 6 วิธี ได้แก่ (1) ความหมายหลักปรากฏที่คำคู่หน้า 2 คำ (2) ความหมายหลักปรากฏที่คำคู่หลัง 2 คำ (3) ความหมาย หลักปรากฏที่คำคู่หน้า 2 คำ และคำคู่หลัง 2 คำ (4) ความหมายหลักไม1เด่นซัดที่คำใดคำหนึ่ง (5) ความหมายหลัก สลับคู่กันดังนี้ (5.1) ความหมายหลักปรากฏที่คำที่ 1 กับคำที่ 3 (5.2) ความหมายหลักปรากฏที่คำที่ 1 กับคำที่ 4 (5.3) ความหมายหลักปรากฏที่คำที่ 2 กับคำที่ 4 และ (6) ความหมายหลักปรากฏทุกคำซึ่งเป็นการประสมคำ
           ผลการวิจัยพบว่า คำคล้องจองสี่พยางค์ในภาษาถิ่นล้านนา มีวิธีการคล้องจองโดยการนำคำซ้อน 1 คำ มาเพิ่ม พยางค์หรือเพิ่มคำมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 48.58 วิธีการคล้องจองที่ปรากฏรองลงมาตามลำดับคือการใช้เสียงสัมผัส คิดเป็นร้อยละ 34.09 การซ้ำคำคิดเป็นร้อยละ 14.13 การนำคำมาเพิ่มพยางค์แต่ไม่ซ้ำคำ คิดเป็นร้อยละ 2.61 และ การนำคำ 2 คำมาวางสลับที่กัน คิดเป็นร้อยละ 0.59 ส่วนการวิเคราะห์ความหมาย พบว่า มีความหมายหลักไม1เด่นซัด ที่คำใดคำหนึ่งมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33.02 ความหมายหลักที่ปรากฏรองลงมา คือ ความหมายหลักปรากฏอยู่ที่คำ คู่หน้า 2 คำ และคู่หลัง 2 คำ คิดเป็นร้อยละ 31.35 ความหมายหลักปรากฏที่คำคู่หน้า 2 คำ คิดเป็นร้อยละ 16.86 ความหมายหลักปรากฏที่คำคู่หลัง 2 คำ คิดเป็นร้อยละ 15.20 ความหมายหลักสลับคู่กัน คิดเป็นร้อยละ 3.09 และ ความหมายหลักปรากฏในทุกคำ คิดเป็นร้อยละ 0.48 ตามลำดับ
คำสำคัญ : คำคล้องจองสี่พยางค์, ภาษาถิ่นล้านนา, วิธีการคล้องจอง, ความหมายหลักและความหมายรอง

           This research aimed to analyze rhyming and denotative and connotative meanings of quadrisyllabic rhymes in the Lanna dialect. The data comprised of 842 expressions in the Lanna Dialect taken from cultural documents collected in 8 provinces in the Upper North : Chiang Rai, Chiang Mai, Nan, Phayao, Mae Hong Son, Lampang, and Lamphun. Based on the Royal Institute’s Dictionary, 2542 B.E. (or 1999), together with other supplementary dictionaries, the data was analyzed using two frameworks: rhyming and semantic. The rhyming framework included 5 techniques: (1) using a doublet with an additional syllable or word, (2) exchanging positions of two words, sound rhyming, (4) word duplication, and (5) using a new word with an additional syllable. For the analysis of denotative - connotative meanings, the semantic framework was used, including 6 techniques: (1) denotative meaning set on the first two words, (2) denotative meaning set on the last two words, (3) denotative meaning set on the first two words and on the last two words,(4) denotative meaning vague on any word, (5) denotative meanings exchanged: (5.1) between the first and third words, (5.2) between the first and fourth words, (5.3) between the second and fourth words, (6) denotative meaning set on every word like word compounding.
           The results showed that in quadrisyllabic rhymes of Lanna dialect, the rhyming technique of using a doublet with an additional syllable or word was most frequently found (48.58%), followed by sound rhyming (34.09%), word duplication (14.13%), using a new word with an additional syllable (2.61%), and exchanging positions of two words (0.59%), respectively. For semantic setting techniques, denotative meaning vague on any word was the most often found (33.02%), followed by denotative meaning set on the first two words and on the last two words (31.35%), denotative meaning set on the first two words (16.86%), denotative meaning set on the last two words (15.20%), denotative meanings exchanged (3.09%), and denotative meaning set on every word (0.48%).
Keywords : Quadrisyllabic Rhymes, Lanna Dialect, Rhyming Technique, Denotative and Connotative


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.