โอกาสและการปรับตัวของวิสาหกิจเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษาวิสาหกิจในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

บุญฑวรรณ วิงวอน

Abstract


           บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) ศึกษาบริบทความเหมือนและความแตกต่างของวิสาหกิจชุมชน กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือของประเทศไทย และ (2) วิเคราะห์โอกาสและแนวโน้มของวิสาหกิจ ซึ่งเป็น รากฐานการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยกับการปรับตัวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชากร คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน จำนวน 32 กลุ่ม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 32 ราย รวม 64 รายจากจำนวน 8 จังหวัด โดยใช้การสัมภาษณ์ ประชุม เสวนาและจัดเวทีประชุมเพื่อทำการแลกเปลี่ยน ข้อมูล สารสนเทศ วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลแบบมีส่วนร่วมกับทุกฝ่าย
           ผลการศึกษาพบว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีการดำเนินงานโดยเจ้าของกิจการ มีการขับเคลื่อน การดำเนินงานด้วยตนเอง มีอิสระและตัดสินใจโดยเจ้าของ มีทุน'ทางสังคมสูง การตลาดเน้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ เน้นความคิดสร้างสรรค์ มีอัตลักษณ์เฉพาะ มีตราสินค้าและเน้นทรัพยากรที่หลากหลาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้วิสาหกิจชุมชน ไม่มีหรือมีอาจจะมีน้อยสำหรับด้านความเหมือนของทั้ง 2 วิสาหกิจพบว่า (1) เป้าหมายด้านผลกำไรหรือไม่หวังผลกำไร และเน้นการเติบโต หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (2) มิการนำเสนอผลิตภัณฑ์ในงานแสดงสินค้าทั้งระดับชาติและนานาชาติ (3) ประยุกต์ใช้ทุนทรัพยากร สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานหรือมาต่อยอดกิจการ เพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่ม (4) มุ่งแก้ปัญหาความยากจนควบคู่กับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และ (5) ความผูกพัน กับชุมชนและการใช้ทรัพยากรที่หลากหลายภายในชุมชน
           ผลการวิเคราะห์การปรับตัวของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พบว่า มิโอกาส ในการร่วมทุนและร่วมเทคโนโลยีกับผู้ประกอบการข้ามชาติ สามารถเรียนรู้จากคู่แข่งขันทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว แสวงหาแหล่งทุนระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น สามารถประยุกต์ใช้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ผ่านผลิตภัณฑ์และ บริการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ขอบเขตการตลาดมิการขยายมากยิ่งขึ้น หากวิสาหกิจส่วนใหญ่มิการปรับตัวและขับเคลื่อน ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี เน้นการรวมกลุ่มคลัสเตอร์ในการดำเนินงานห่วงโซ่อุปทานและสามารถสร้างความสามารถ ในการแข่งขันและลดต้นทุนให้กับกิจการ เน้นการบูรณาการเครือข่ายการดำเนินธุรกิจระดับนานาชาติ
คำสำคัญ : วิสาหกิจชุมชน, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, โอกาส,การปรับตัววิสาหกิจและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน          

           The purposes of this academic article were (1) to study the similarity and difference context of community enterprises and small and medium enterprises in the Northern region of Thailand, (2) to analyze the trend and opportunities of enterprises which were the foundation of economic system development in Thailand and adaptation toward ASEAN Economic Community. The population was 32 community enterprises and 32 small and medium enterprises with the 64 enterprises from 8 provinces in the Northern region of Thailand. The research tools were consisted of interviews, meetings, seminars and conventions to exchange, communicate, analyze and synthesize information and data with participation from all stakeholders.
           The outcomes of study revealed that small and medium enterprises were operated and driven by business owners, had anatomy in decision making, had high social capital, marketing focused on both domestic and international business, focused on creativity, had own specific identity, had own product brand and focused on resource variety. These were elements which community enterprises lacked of or insufficient. Those 2 revealed similarity of both enterprises were (1) on profit or non-profit objective targets and business growth or geographic indication, (2) on presenting products in trade exhibitions of both national and international level, (3) on applying resources capital, environment, culture and local knowledge as base or in expanding business to generate value-added operation, (4) on solving poverty and conserving variety of cultures and (5) on relationship with community and on utilizing variety of resources within community.
           The adaptation analysis both of enterprises revealed that entrepreneurs had opportunity in joint investment and technology with multi-national businesses, ability to learn from business competitors, seeking source of international funds, ability to apply local cultural identity through products and services in creating value-added activities, expanding of marketing scope where majority adaptation of enterprises were being driven by innovation and technology, concentrating in forming group cluster in supply chain management for ability in generating competitive advantage and in cost reduction process and focusing in networking at international level.
Keywords : Community Enterprises, Small and Medium Enterprises, Opportunities, Adaption of Enterprise AEC

          


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.