การประยุกต์ใช้ความเป็นจริงเสริมเพื่อนำเสนอข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว : กรณีศึกษาวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย

นิติศักดิ์ เจริญรูป

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประยุกต์ใช้ความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality : AR-Code) ในการนำเสนอข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวบนสมาร์ทโฟน ความเป็นจริงเสริมเป็นเทคโนโลยีที่ผสานโลกแห่งความจริง และโลกเสมือนเข้าไว้ด้วยกัน โดยใช้วิธีซ้อนภาพสองมิติหรือสามมิติที่อยู่ในโลกเสมือน ให้อยู่บนภาพที่เห็นจริง งานวิจัยนี้ใช้ข้อมูลวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย เป็นต้นแบบในการพัฒนางานวิจัย โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย ประวัติความเป็นมา ศาสนาสถานที่สำคัญภายในวัดพระแก้ว อันได้แก่ พระอุโบสถ พระเจดีย์ หอพระหยก และพิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสงแก้ว เพื่อนำเสนอข้อมูลให้กับนักท่องเที่ยวใน 2 ลักษณะ คือ 1) นำเสนอความเป็นจริงเสริมจากหนังสือ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเห็นสถานที่ท่องเที่ยวจริงผ่านวีดีโอที่จัดทำขึ้นในรูปแบบ 3 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน โดยใช้การอ่านสัญลักษณ์ (รูปภาพ) จากหนังสือ และ 2) นำเสนอความเป็นจริงเสริมจากภาพสถานที่จริง เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าใจประวัติ รวมถึงข้อมูลศาสนสถานภายในวัดพระแก้วเพิ่มมากขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้สำรวจความพึงพอใจของการใช้แอพพลิเคชันกับนักท่องเที่ยวโดยการใช้แบบสอบถาม ผลการสำรวจพบว่ามีนักท่องเที่ยวตอบแบบสอบถามจำนวน 218 คน แบ่งเป็นคนไทย 124 คน คนจีน 27 คน และคนต่างชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร 67 คน โดยผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย 81 คน และเพศหญิง 137 คน ส่วนใหญ่มีช่วงอายุระหว่าง 21 – 40 ปี นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจสูงสุดด้านแอพพลิเคชัน คือ การใช้งานแอพพลิเคชันโดยรวม มีความเหมาะสม ซึ่งมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนความพึงพอใจด้านการนำเสนอข้อมูลสูงสุด คือ ภาษาที่ใช้บรรยายเข้าใจง่าย และถูกต้อง มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากเช่นกัน ตอนท้ายสุดจะกล่าวถึงแนวทางการพัฒนาแอพพลิเคชัน และแนวโน้มการใช้สื่อความจริงเสริมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

คำสำคัญ : การสร้างภาพแทนข้อมูล, ข้อมูลการท่องเที่ยว, ความเป็นจริงเสริม, วัดพระแก้ว, เชียงราย

The objective of this research is to apply the augmented reality (AR-Code) on smartphone to present tourist information. This is a technology that merges the real world and the virtual world by using two-dimensional or three-dimensional pictures in the virtual world to the real picture. This research used information of Wat Phrakaew in Chiangrai province to prototype of research development. The content includes historical background and religious place in Wat Phrakaew: the Phra Ubosot, the Chedi (pagoda), the Ho Phra Yoke, and Hong Luang Saeng Kaew museum to offer information for tourists in two aspects. 1) To present the augmented reality from the book, the reader can see the attractions through a video were made in three languages (Thai, English, and Chinese languages). 2) To present augmented reality from a real place, the visitors can more understand history and religious place information in English language. Besides, the researcher surveyed the satisfaction of using the application with tourists by questionnaire. The results of this study revealed that 218 of tourists responded to the questionnaire divided into 124 Thai, 27 Chinese, and 67 foreigners. The respondents are 81 male and 137 female, aged between 21-40 years old.

            The majority of tourists are most satisfied with the application in term of application overall is appropriate which the satisfaction of tourists is at a high level. In terms of content presentation satisfaction is the language used was easy to understand and accurate and the level of satisfaction was high. Finally, this research discusses the use of augmented reality's trends in the future.

Keywords : Information Representation, Tourist Information, Augmented Reality,Phrakaew Temple, Chiangrai


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.