การประยุกต์ใช้หลักการออนโทโลยีสำหรับระบบแนะนำการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษา บ้านแม่กำปอง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่

กัลยา ใจรักษ์

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้หลักการของออนโทโลยีในการพัฒนาระบบแนะนำการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยมีกระบวนการวิจัยทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การรวบรวมองค์ความรู้ 2) ออกแบบและพัฒนา               ออนโทโลยี  3) การจับคู่ออนโทโลยีกับฐานข้อมูล  4) ค้นคืนข้อมูลการท่องเที่ยวจากออนโทโลยี  โดยใช้ภาษาสปาร์เคิล (SPARQL)  และ 5) การประเมินผล จากการศึกษาพบว่าออนโทโลยีการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่เหมาะสมประกอบด้วย 8 คลาสหลัก ได้แก่ คลาสที่พัก คลาสจำนวนวันพัก  คลาสสถานที่ท่องเที่ยว  คลาสจุดประสงค์การท่องเที่ยว ความต้องการพิเศษ คลาสการเดินทาง อาหารและคลาสคำแนะนำออนโทโลยีที่สร้างขึ้นถูกนำไปทดสอบกับการค้นคืนข้อมูลเชิงความหมายและคำแนะนำในการตัดสินใจให้แก่นักท่องเที่ยว ผลการศึกษาพบว่าการค้นคืนข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เทคโนโลยีเชิงความหมายมีความถูกต้อง 94.2% ความแม่นยำ 93.8% และค่าการค้นคืน 93.4%

คำสำคัญ : ออนโทโลยี การค้นหาข้อมูลเชิงความหมาย ระบบให้คำแนะนำ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

This research aims to apply ontology based recommendation system for community ecotourism. The research methodology consists of 5 processes : 1) Knowledge Acquisition                   2) Ontology Design & Development  3) Mapping Ontology to Database 4) Tourism Information Retrieval and 5) Evaluation. The study shows that the ontology of community ecotourism consists of 8 super classes: class of accommodations, class for length of stay, class of attractions, class for purpose of trips, class of special needs, class of travel, class of meals, and class of recommendations. The developed ontology is applied to test with semantic search and

recommendation to the decision of tourists. The results reveal that community ecotourism information retrieved from semantic search has the highest performance with an accuracy of 94.2 %, a precision of 93.8 % and a recall of 93.4 %.

Keywords: Ontology,  Semantic search,  Recommendation system,  Ecotourism


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.