การควบคุมภายในสมัยใหม่เชิงรุกที่มีต่อคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ฉัตรรัชดา วิโรจน์รัตน์

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบระหว่างการควบคุมภายในสมัยใหม่เชิงรุกที่มีต่อคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การควบคุมภายในสมัยใหม่เชิงรุกเป็นตัวแปรอิสระและเป็นตัวกำหนดคุณภาพข้อมูลทางการบัญชี ซึ่งทำการเก็บรวบรวมข้อมูลประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 560 แห่ง จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการทดสอบข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ โดยใช้ OLS ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการทดสอบผลกระทบของการควบคุมภายในสมัยใหม่เชิงรุกและคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า  การควบคุมภายในสมัยใหม่เชิงรุก ด้านกำหนดนโยบายและบูรณาการแผนงานล่วงหน้า และด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงและข้อผิดพลาดเชิงป้องกันอย่างระมัดระวังรอบคอบ มีผลกระทบเชิงบวกกับคุณภาพข้อมูลทางการบัญชี  ในส่วนของด้านประเมินสภาพแวดล้อมควบคุมและคาดการณ์ปัญหาล่วงหน้าอย่างชาญฉลาด ด้านการพัฒนาวิธีการปฏิบัติใหม่และกิจกรรมการควบคุมภายในเชิงสร้างสรรค์ ด้านประยุกต์ใช้การสื่อสารและนวัตกรรมสารสนเทศที่ทันสมัย และด้านติดตามและให้คำปรึกษาเชื่อมโยงระบบงานเชิงป้องกันอย่างยั่งยืน ไม่มีผลกระทบเชิงบวกกับคุณภาพข้อมูลทางการบัญชี ซึ่งจะใช้เป็นแนวทางพัฒนางานตรวจสอบภายในขององค์กร และเป็นข้อสนเทศในวางแผนปรับปรุงระบบการควบคุมภายในสมัยใหม่เพื่อให้ข้อมูลทางการบัญชีมีคุณภาพต่อไป

คำสำคัญ : การควบคุมภายในสมัยใหม่เชิงรุก, คุณภาพข้อมูลทางการบัญชี

The purpose of this paper was to investigate the effects of proactive modern internal control of accounting information quality of Listed Companies in the Stock Exchange of Thailand. This proactive modern internal control was the independent variable and the determinant of the accounting information quality. Data were collected from 560 Listed Companies in the Stock Exchange of Thailand, and by using the questionnaire as an instrument. The statistics used for analyzing data were multiple correlation analysis and multiple regression analysis in the Ordinary Least Square (OLS) regression as the method used for testing the hypothesis.

            The results of the research showed that the effects testing of proactive modern internal control of accounting information quality among Listed Companies on the Stock Exchange of Thailand including proactive modern internal control, determining policy and integrative planning ahead, risk management and error prevention carefully have a positive relationship on its accounting information quality. Additionally, in the assessment of the control environment and predict trouble ahead wisely, the development of new practices and control activities within the creative, the application of modern information, communication and innovation and the Monitoring and Evaluation system linking preventative sustainable; there are no positive impacts on the quality of accounting information. These will be used to guide the development of the internal audit organization and as a plan to improve the internal control systems of modern accounting data to have further quality.

Keyword :  proactive modern internal control, accounting information quality


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.