แนวทางการพัฒนาการทำบัญชีครัวเรือนของสมาชิกสหกรณ์ เครดิตยูเนี่ยน : กรณีศึกษาสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทิพย์ช้างจำกัด ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

สนธิญา สุวรรณราช

Abstract


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการทำบัญชีครัวเรือนของสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน การเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วนประกอบด้วย ข้อมูลเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามจำนวน 301 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ข้อมูลเชิงคุณภาพ เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้วิธีเฉพาะเจาะจงจากสมาชิกกลุ่มจำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างความตะหนักและการยอมรับถึงประโยชน์ในการจัดทำบัญชีครัวเรือน 2) การสร้างการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบบัญชีครัวเรือนได้แก่ สร้างเป้าหมายร่วมกัน การนำความรู้เดิมและความรู้ใหม่มาร่วมกันออกแบบสร้างองค์ความรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงและประเมินประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีครัวเรือน 3) การสร้าง“ชุดความรู้บัญชีครัวเรือน” 4) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การปฏิบัติซึ่งทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงแนวทางในพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือของสมาชิก เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการทำบัญชีครัวเรือนของสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน การเผยแพร่แนวทางการจัดทำบัญชีครัวเรือนจะเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนสาขาอื่นๆ และหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปพัฒนาต่อยอดแต่ละพื้นที่เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาให้กับท้องถิ่นของตนเอง

คำสำคัญ :  การพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือน, สมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

 

Abstract

This study aimed to study The development approach of household accounting Cooperative Credit Unions : A case study Cooperative Credit Union Thipchang Quantitative data: the data was collected by questionnaire from 301 samples analyzed the data using descriptive statistic. Qualitative data: the data was collected by specific amount from 30 members of Cooperative Credit Union Thipchang. The result found that 1) The recognition and acceptance of the benefits of household accounting. 2) Create the learning participation in the development of household accounts: create a goal together, application of prior knowledge and new knowledge put together to design knowledge with practice, and performance assessment for household accounting.3) The creation of “A Series of Knowledge Household Accounting" 4) Knowledge sharing to transfer knowledge with practicing that was made the related party got the household accounting approach. To publication of the household accounting approach will be more advantage for the other Credit Union and the local governments.

Keyword: Development Household accounting, Cooperative Credit Unions.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.