การจัดการทรัพยากรในองค์การเพื่อความสำเร็จในการให้บริการของธุรกิจสปา ในประเทศไทย

พอใจ สิงหเนตร

Abstract


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของการจัดการทรัพยากรในองค์การเพื่อความสำเร็จของธุรกิจสปาในประเทศไทย 2) เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างของการจัดการทรัพยากรในองค์การเพื่อความสำเร็จของธุรกิจสปาในประเทศไทย และ 3) เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการทรัพยากรในองค์การเพื่อความสำเร็จของธุรกิจสปาในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณผสมผสานกับการวิจัยเชิงคุณภาพ (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้คือธุรกิจสปาในประเทศไทยที่ยังคงเปิดดำเนินธุรกิจอยู่ จำนวน 460 แห่ง ได้มาจากการกำหนดสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างต่อ  ตัวบ่งชี้ 20 : 1 ใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอนเพื่อเลือกกลุ่มตัวอย่าง และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือผู้ประกอบการธุรกิจสปา จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวแปรสาเหตุของการจัดการทรัพยากรในองค์การเพื่อความสำเร็จของธุรกิจ
สปาในประเทศไทยมี 3 ประการ เรียงลำดับน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor loadind) จากมากไปน้อยคือ 1.1) การจัดการทรัพยากรในองค์การด้วย 7s ของแมคคินซีย์ 1.2) การสร้างอัตลักษณ์ที่ชัดเจนของธุรกิจสปาไทย และ 1.3) การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจสปาตามมาตรฐานสปาอาเซียน 2) โมเดลสมมติฐานการจัดการทรัพยากรในองค์การเพื่อความสำเร็จของธุรกิจสปาในประเทศไทยที่สร้างขึ้นมามีความตรงเชิงโครงสร้างสามารถแสดงค่าดัชนี้ความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ได้ในระดับดีมาก 3) ธุรกิจสปาไทยจะต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้เกิดการพัฒนาและเป็นมาตรฐานสากล โดยใช้แนวคิดการบริหารคุณภาพโดยรวม (TQM : Total Qua.lity Management) เข้ามาช่วยในการบริหารงาน ประกอบด้วยคุณภาพผลิตภัณฑ์, ต้นทุนสินค้า,การส่งมอบสินค้า, ความปลอดภัยในการทำงาน, ขวัญและกำลังใจของพนักงาน, สภาพแวดล้อมการทำงานและจริยธรรมในการดำเนินกิจการ และในการสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้นกับองค์การจึงควรใช้วงจร PDCA (Plan, Do, Check, Act) มาปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

 

คำสำคัญ : การจัดการทรัพยากรในองค์การ, การให้บริการ, ธุรกิจสปา

 

Abstract

            This research had the objectives to 1) study causal factors of organizational resources management for success in spa business in Thailand (ORM for SSBT) 2) validation of a Causal Model of the structure of ORM for SSBT and  3) identify suitable guidelines for ORM for SSBT by mixing qualitative and quantitative research method. The sample group in quantitative research came from 460 operating spa businesses in Thailand by specifying sizes of the sample group as per indicator at the proportion of 20 : 1 with Multi – Stage Sampling method. The sample group in qualitative research came from 50 respondents. The research tools consisted of and interview form and a questionnaire

The research findings revealed 1) The 3 causal factors for ORM for SSBT ranking according to the factor loading from high to low : Organizational resources management by Mckinsey 7s, creating a clear identity of Thai Spa Business and service quality management added value according to ASEAN Spa Service standards. 2) Hypothesis Model created for ORM for SSBT had

            structural correctness and could display Goodness of Fit Index at the very good level 3) Thai Spa-Business should improve to have development and become international standard using TQM : Total Quality Management to help manage consisted of product quality, product cost, product delivery, work safety, staff morale, work environment and work ethic. Quality creation in the organization should be created using PDCA (Plan, Do, Check, Action) continuously.

Keyword : Organization Resources Management (ORM), Offering services, Spa business


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.