การปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในภาคเหนือภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : กรณีศึกษาจังหวัดเชียงรายและจังหวัดเชียงใหม่

กนกวรรณ อู่ทองทรัพย์

Abstract


บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดเชียงใหม่ภายใต้การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษาตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) โดยแบ่งข้อมูลในการวิจัยเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ แหล่งข้อมูลจากภาคสนาม (field work) ซึ่งทำการสัมภาษณ์จากบุคคลสำคัญ (Key informant) ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในจังหวัดเชียงราย และ จังหวัดเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่ของรัฐ รวม 18 คน คือ นักวิชาการเกษตร เกษตรจังหวัด และ เกษตรอำเภอ และ 2) ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ รายงานประจำปี รายงานสถานการณ์นำเข้าและส่งออก รายงานการผลิตกาแฟอาราบิกา ตลอดจนรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีต่างๆ จากกรมศุลกากร กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงเกษตร เป็นต้น  ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟทั้ง 6 อำเภอ มีกลยุทธ์การปรับตัวแตกต่างกันดังนี้คือ
(1) ปรับตัวโดยการรับจ้างเป็นผู้ผลิตภายใต้บริษัทดอยช้างซึ่งเป็นบริษัทเอกชน (2) ปรับตัวโดยการรับจ้างเป็นผู้ผลิตภายใต้มูลนิธิโครงการหลวงฯ  (3) ปรับตัวโดยการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง และ (4) ปรับตัวโดยลดปริมาณการปลูกกาแฟอาราบิกาและหันมาปลูกชาทดแทน สำหรับข้อเสนอแนะในการศึกษาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอาราบิกาในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดเชียงใหม่ให้สามารถดำรงอยู่ได้ภายใต้การเปลี่ยนแปลงในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มี 3 ประการใหญ่ๆ ดังนี้
(1) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิต (2) การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์กาแฟ และ
(3) การพัฒนาและส่งเสริมความรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร

คำสำคัญ : การปรับตัว, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, กาแฟอาราบิกา, สินค้าอ่อนไหว

 

Abstract

            This research aims to study the adaptation of coffee beans agriculturists in Chiang Rai and Chiang Mai Provinces under accessing to AEC.   The researcher studies towards a situation in producing Arabica coffee beans as well as an adaptation of coffee beans agriculturists in the northern region of Thailand that was conducted with qualitative method. The data were divided into 1) primary data such as field work; interviewing the related individuals about 18 people such as coffee beans agriculturists in Chiang Rai and Chiang Mai Provinces as well as government officers in the Department of Agriculture Extension and 2) secondary data such as academic journals, annual reports, reports on import and export situation and reports on the production of Arabica coffee beans as well as research studies towards the effects of free trade area from related government departments including the Customs Department, Ministry of Commerce, Ministry of Foreign Affairs, and Department of Agriculture Extension. The result showed that these agriculturist groups in six districts had to adapt themselves in many ways; (1) producing coffee beans under Doi Chang Brand which is a Private company (2) producing coffee beans under the Royal Project Foundation's (3), adapting by the integration into the network in order to increase their bargaining power, and (4) adjusting by decreasing the amount of coffee Arabica and turned to grow tea instead. For suggestion on the study to help coffee Arabica agriculturists in Chiang Rai and Chiang Mai to be able to survive in the changes under accessing to the AEC, there are three aspects as follows (1) increase production efficiency and reduce production costs, (2) value added coffee products, and (3) the development and promotion of knowledge to strengthen agriculturists.

Keywords : Adaptation, AEC, Arabica Coffee Beans, Sensitive List Goods

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.