การบริหารความเสี่ยงของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนสาขาจังหวัดเพชรบุรี

พรรณทิพย์ ทองแย้ม

Abstract


บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารความเสี่ยง 2) ศึกษาผลการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยง 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยง และ 4) เสนอแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารความเสี่ยงและการดำเนินการของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนสาขาจังหวัดเพชรบุรี การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสม คือ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนสาขาจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์(สหสัมพันธ์)ถดถอยพหุคูณแบบสเต็ปไวซ์ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ประธานกรรมการและผู้จัดการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนสาขาเพชรบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามตามประเด็นคำถามการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารความเสี่ยงของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนโดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) ผลการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน โดยรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยงของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ได้แก่ ด้านปฏิบัติการ ด้านกลยุทธ์ และด้านผลตอบแทน โดยปัจจัยทั้งหมดดังกล่าวสามารถทำนายการดำเนินการได้ร้อยละ 65.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 4) แนวทางที่เหมาะสมในการบริหารความเสี่ยงและการดำเนินการของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมีดังนี้ 4.1)จัดทำแผนกลยุทธ์ 3 ปี 4.2)สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน และหน่วยงานของรัฐต้องร่วมมือกันพัฒนา 4.3)สร้างความเข้าใจให้กับสมาชิกถึงวัตถุประสงค์ของระบบสหกรณ์ 4.4)ปรับปรุงระเบียบให้ทันสมัย 4.5) ให้ความรู้กับสมาชิกเกี่ยวกับการกู้เงิน 4.6)คำนึงถึงต้นทุน ผลตอบแทนและแนวโน้มในอนาคต 4.7)กำหนดกรอบในการปล่อยเงินกู้ การระดมหุ้น ระดมเงินฝาก ระบบการติดตามและรายงานผลอย่างเป็นระบบ 4.8) กำหนดระเบียบ หลักเกณฑ์ในการปฏิบัติงาน และ 4.9) บริหารงานโดยยึดหลักคุณธรรม

คำสำคัญ : การบริหารความเสี่ยง,  สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน

 

                                                            Abstract

The objectives of this research were: 1) to investigate risk management; 2) to study the operational results of risk management; 3) to study factors affecting the operational results of risk management; and 4)  to suggest guidelines for the risk management of Credit Union Cooperatives of Phetchaburi Branch. The mixed method was used in the study. For the quantity taken method, the sample group was 400 members of Phetchaburi credit union cooperatives. Questionnaires were used to obtain data. Statistical analysis was Frequency, Means, Percentage, standard Deviation and Stepwise Regression. For the quality taken method, the key informant for the questionnaire method was 30 presidents and managers. Tools were 

focus group and questionnaires. The results were as follows: 1) Risk management of Phetchaburi on average was at a high level. 2) Risk management performance was at a high
level. 3) Factors affecting the operational results of risk management of the Credit Union cooperatives, 3 aspects in terms of practical, strategy, and benefit were found as crucial factors on the operational results of risk management. These factors could predict the operational results at the 65.60 percent and at the .01 level of significance.  4) Guidelines for the risk management of cooperative were, 4.1) a 3 years statistics plan, 4.2) the cooperative and government agencies should cooperate to develop, 4.3) make under progress studies of the cooperatives, 4.4) improve and award regulations of the cooperatives, 4.5) provide knowledge about the loan and how to use it, 4.6) consider cost , profit and trends on  the future, 4.7) define the lending criteria for obtaining of capital, saving, 4.8)the cooperatives should set the regulations, and 4.9) management by morality.

Keywords : Risk management, Cooperative credit Union

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.