สวัสดิการและแรงจูงใจที่มีผลต่อการตัดสินใจออมทรัพย์ กับธนาคารหมู่บ้านรักษ์แม่เมาะ จังหวัดลำปาง

อนงค์ แกล้วทนงค์, สุเทพ ทองคำ

Abstract


           การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นด้านสวัสดิการ แรงจูงใจ และการตัดสินใจออมทรัพย์ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออมทรัพย์กับธนาคารหมู่บ้านรักษ์แม่เมาะ จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 334 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานวิเคราะห์ความถดถอยพหุ
           ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการเป็นเพศหญิงและเพศชายมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน มีอายุ 40 ปีขึ้นไปสถานภาพสมรส ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี อาชีพค้าขาย รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-15,000 บาท ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 7,000 บาท ภาระหนี้สินเฉลี่ยต่อเดือน 3,001-8,000 บาท จำนวนสมาซิกในครอบครัว 3-5 คน ปัจจัยด้านสวัสดิการ และปัจจัยด้านการตัดสินใจออมทรัพย์ทั้งเพศหญิงและชายมีความคิดเห็นระดับปานกลาง ส่วนด้านแรงจูงใจมีความคิดเห็น ระดับน้อย
           ปัจจัยด้านสวัสดิการและปัจจัยด้านแรงจูงใจมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจออมทรัพย์ มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย เท่ากับ 0.357 และ 0.202 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
คำสำคัญ : สวัสดิการ, แรงจูงใจ, การตัดสินใจออมทรัพย์, ธนาคารหมู่บ้าน

           The purpose of this research was to study the opinion level of welfare, motivation and the savings decisions and to study effect factors toward the savings decisions at Baan Rak Mae Moh Community Bank, Lampang province. The size of sampling group was 334 persons. The research tool was questionnaire, the descriptive statistics to analyze the data on percentage, average, standard deviation and inferential statistics to analyze multiple regression analysis.
           The outcome of research revealed that the majority of population was proportionally equal of female and male in gender, with age of over 40 years old, with married marital status, with lower than undergraduate educational level, with trading profession, with average monthly revenue between 10,1-15,000 Baht, with average monthly expenditure lower than 7,000 Baht, with average monthly debt burden of 3,001-8,000 Baht and with family members between 3-5 persons. The outcome of study revealed that welfare and saving decision factors were rated at medium level while motivation was rated at low level.
           The welfare and motivation factors had effect toward the savings decisions with regression coefficient equal to 0.357 and 0.202 at statistical significance at .05 level
Keywords : Welfare, Motivation, Saving Decision, Community Bank


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.