บทบาทหน้าที่ของรายการโทรทัศน์ในการสื่อสารอัตลักษณ์อาหารไทย

รักชนก สมศักดิ์, ทิฆัมพร เอี่ยมเรไร

Abstract


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์บทบาทของรายการอาหารทางโทรทัศน์ในปัจจุบันที่เกี่ยวกับการสื่อสารอัตลักษณ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิเคราะห์ภาคตัดขวางโดยการวิเคราะห์ตัวบท (textual analysis) รายการอาหารทางโทรทัศน์ทั้งหมด 8 รายการ จำนวน 16 ตอน ที่นำเสนอวิธีการสาธิตการประกอบอาหารไทยที่มีชื่อเสียงระดับโลก 8 เมนู ได้แก่
แกงมัสมั่น แกงเขียวหวาน ต้มยำกุ้ง ผัดไทย ส้มตำ แกงพะแนง ต้มข่าไก่ และน้ำตกหมูหรือเนื้อย่างน้ำตก วิเคราะห์ผ่านองค์ประกอบของรายการอาหารทางโทรทัศน์ 9 องค์ประกอบได้แก่ (1) การจัดเตรียม
วัตถุดิบ (2) การใช้อุปกรณ์ครัว (3) วิธีการประกอบและปรุง (4) ส่วนผสมและเครื่องปรุง (5) รสชาติอาหาร (6) การจัดจานอาหาร (7) ชื่อรายการโทรทัศน์ และชื่ออาหาร (8) ผู้ดำเนินรายการ และแขกรับเชิญ
และ(9) การแสดงข้อความสำคัญ

ผลการวิจัยพบว่า รายการโทรทัศน์มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการสื่อสารอัตลักษณ์อาหารไทยทั้งสิ้น 11 บทบาทหน้าที่ด้วยกัน คือ (1) บทบาทหน้าที่ในการสร้างข้อตกลงร่วมกัน (2)  บทบาทในการสร้างความมั่นใจ (3) บทบาทในการสร้างพื้นที่ต่อรอง (4) บทบาทในการสร้างต้นแบบ (5) บทบาทในการสร้างความแตกต่าง (6) บทบาทในการสร้างความภาคภูมิใจ (7) บทบาทในการสร้างความเป็นไทยแท้ (8) บทบาทในการสร้างความแปลกใหม่ (9) บทบาทในการสร้างคุณค่า (10) บทบาทในการสร้างมูลค่าความเป็นไทย
ที่ทันสมัย และ (11) บทบาทในการแบ่งพื้นที่ให้ชาวต่างชาติมีส่วนร่วมในการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นไทยของอาหารไทยในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งรายการโทรทัศน์ไทยมีบทบาทสำคัญในการสร้างอัตลักษณ์
ร่วม “collective identity” เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติทางวัฒนธรรม (cultural crisis) ที่เกิดขึ้นในยุคที่วัฒนธรรมอาหารไทยเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ รายการโทรทัศน์ไทยจึงเป็นสถาบัน หรือองค์กรทางวัฒนธรรมที่มีอำนาจอันชอบธรรมในการกำกับรหัสการสื่อสารอัตลักษณ์อาหารไทยที่จะบอกกับผู้ชมคนไทย “พวกเรา” ถึงความเป็นไทยของอาหารไทย

คำสำคัญ : บทบาทหน้าที่รายการโทรทัศน์, การสื่อสารอัตลักษณ์, อาหารไทย

 

      Abstract

This study aimed to analyze the role of current television program in communicating the identities of Thai cuisine in the current television programs by applying qualitative research methodology and cross-sectional study analysis (textual analysis).  The 8 cooking TV programs, 16 episodes, demonstrating the cooking of Thailand's world famous 8 menus including soup, Massaman curry, Green curry, Tom yum goong, Pad Thai, Som tum, Panang curry, Tom kha kai, and Nam tok moo, were textually analyzed through 9 elements, which were (1) the preparation of raw material (2) use of kitchen equipment (3) how to assemble and cook. (4) ingredients (5) taste (6) decoration of dish (7) Name and title of television programs (8) moderator and program guests, and (9) the key messages.

            The research found that television played an important role in communicating the identity of Thai cuisine Totally, 11 roles were found, namely (1) the role of creating joint agreement, (2) the role of creating confidence, (3) the role of creating negotiation sphere, (4) the role  of prototyping, (5) the role of differentiation, (6) the role of giving pride, (7) the role of creating “genuine Thai”, (8) the role of creating exotic,  (9) the role of value adding, (10) the role of modern Thailand value creation, and (11) the role of giving the sphere to foreigners taking part in Thai identity presentation of Thai cuisine in the age of globalization. The Thai television programs have played crucial roles in creating collective identity to solve cultural crisis problems in the time that food culture has become commodity. Since Thai food industry has entered the international food industry, the identity of Thai food has continually changed. Thai television programs then have become the cultural institutions that have legitimization in terms of directing communicative codes of Thai food identity to tell their audiences as ‘us’ about Thainess of Thai food.

Keywords : The role of Television Program, Identities Communication, Thai Cuisine


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.