แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

ไตรภพ โคตรวงษา, ครรชิต มาระโภชน์, ชุติมา รุ่นประพันธ์

Abstract


           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมข้อมลพื้นฐาน ของอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) สำรวจทรัพยากรท่องเที่ยว 3) ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน 4) เปรียบเทียบความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา จำแนกตามเพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน และ 5) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืนในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือวิจัย คือ แบบตรวจสอบทรัพยากรท่องเที่ยว แบบสอบถามสำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยว
           ผลการวิจัยพบว่า 1) อำเภอบางคล้า มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแบ่งเป็นสองฟากฝั่งแม่น้ำบางปะกง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและค้าขาย 2) ทรัพยากรท่องเที่ยวธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำบางปะกง แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอำเภอบางคล้า ควรมุ่งพัฒนาการท่องเที่ยวเกี่ยวกับแม่น้ำบางปะกง กิจกรรมการล่องเรือชมแม่น้ำและ เกาะลัด 3) ประชาชนมิความคิดเห็นต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอำเภอ บางคล้า คือ ต้องการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำบางปะกง และประชาชนต้องการมีส่วนร่วม ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และการจัดการที่พักแบบสัมผัสวัฒนธรรมด้านนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจ ในการเดินทางมาท่องเที่ยวในอำเภอบางคล้าอยู่ในระดับมาก โดยมีเพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่อเดือนแตกต่างกันแต่มีความพึงพอใจในการท่องเที่ยวไม่แตกต่างกัน และ 4) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืนในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ควรนำสถานที่ท่องเที่ยวประเภทธรรมซาติคือ แม่น้ำบางปะกง วัดโพธิ์ บางคล้า และเกาะลัด เพื่อนำมาพัฒนาเป็นสินค้าหลักทางการท่องเที่ยวเพื่อสร้างจุดเด่น และควรพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยว ให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
คำสำคัญ : การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

           The objectives of this research were 1) to collect basic data of Bangkla District, Chachoengsao Province, 2) to survey tourism resources, 3) to study the population’s opinion and satisfaction on sustainable tourism development, 4) to compare tourist satisfaction towards traveling to Bangkla District, Chachoengsao Province, and 5) to study the sustainable tourism development guidelines in Bangkla District, Chachoengsao Province. Data analysis was carried out by using qualitative and quantitative research process. Research tools were in audit form, questionnaire for population and questionnaire for tourists.
           The outcomes of research revealed that 1) Bangkla District, Chachoengsao Province was located on the plains with the Bangpakong River flowing through, with majority of population had farmers and traders occupation, 2) the main important natural tourism resource of Bangkla District was Bangpakong River, the guideline for sustainable tourism development should be developed tourism activities for Bangpakong River such as boat sightseeing in Lud Island, 3) population’s opinions on sustainable tourism development in Bangkla District, Chachoengsao Province was on natural tourism area development, e.g. Bangpakong River and want to be involved in the development of conservation tourism and the cultural accommodation management. Tourists were satisfied with the Bangkla District tourism at high level which variied by gender, marital status, education level, occupation and income revenue but with no differences in satisfaction, 4) the sustainable tourism development guideline for Bangkla District, Chachoengsao Province should be focus on the developing of Bangpakong River, Pho Temple and Lud Island as ecotourism products.
Keywords : Sustainable Tourism Development, Bangkla District Chachoengsao Province


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.