การบัญชีและการใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการบริหารจัดการของ SMEs ในเขตภาคเหนือ

อุษณีย์ เส็งพานิช

Abstract


บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการจัดทำบัญชีและระดับการใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อประโยชน์ต่อการบริหารจัดการ ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย และเปรียบเทียบการใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อประโยชน์ต่อการบริหารจัดการของ SMEs ที่เป็นธุรกิจต่างประเภทกัน โดยเก็บข้อมูลจาก SMEs ในภาคเหนือของประเทศไทยตามทะเบียนปี 2553 ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำนวน 469,550 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ (Krejcie & Morgan) (1970) ได้จำนวน 384 ราย และเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่าง การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามทางไปรษณีย์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe ผลการวิจัยพบว่า 1) ร้อยละ 66.5 ของ SMEs มีการจัดทำบัญชี ส่วนอีกร้อยละ 33.5 ไม่มีการจัดทำบัญชี 2) กิจการส่วนใหญ่ใช้ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการบริหารจัดการในระดับมาก โดยด้านที่มีการใช้ข้อมูลมากที่สุด 3 ลำดับ คือ การวิเคราะห์กำไร การบริหารเงินสด และการวางแผนการดำเนินงาน ส่วนด้านที่ใช้น้อยที่สุด คือ การยกเลิกการผลิตหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 3) SMEs ที่เป็นธุรกิจต่างประเภทกัน มีการใช้ประโยชน์ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการบริหารจัดการในด้านการวางแผนการดำเนินงาน การสั่งการในกิจการ การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน การวิเคราะห์กำไร การยกเลิกการผลิตหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การจัดทำงบประมาณ การปรับปรุงกระบวนการทำงาน การบริหารต้นทุน การวัดผลการดำเนินงาน การบริหารลูกหนี้ และการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ทั้งนี้กลุ่มกิจการเจ้าของคนเดียวเป็นประเภทธุรกิจที่มีค่าเฉลี่ยการใช้ข้อมูลทางการบัญชีในทุกด้านดังที่กล่าวมา (ยกเว้นด้านการบริหารลูกหนี้) แตกต่างจากกิจการประเภทคณะบุคคล ห้างหุ้นส่วน (นิติบุคคล) และบริษัท จำกัด อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยกิจการประเภทเจ้าของคนเดียวมีการใช้ข้อมูลน้อยกว่ากิจการประเภทอื่น

คำสำคัญ : วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการบริหารจัดการ

 

Abstract

            This research aims to study the adoption rates of accounting as well as to examine and to compare the levels of utilizing accounting information for management of SMEs in Northern Thailand for different business types. Population is 392,258 listed SMEs from the directory of the Office of SMEs Promotion (OSMEP) in 2010. Simple random sampling is employed to select 384 samples determined by Krejcie and Morgan Table (1970). Mail questionnaires were used to collect data and 179 complete returned questionnaires were statistically analyzed by using Descriptive Statistics: frequency, percentage, mean, and standard deviation; and using Inference Statistics: one-way ANOVA, and Scheffe test. The findings show that 66.5% of the SMEs in Northern Thailand adopted accounting in their business whereas 33.5% did not adopt. Most SMEs utilized accounting information at the high degree. The employment of accounting information on Profit analysis, cash management and operation planning were ranked as the first 3 high aspects of the utilization. However, the least use of accounting information was on dropping a product, product line, or service. In addition, the utilization of accounting information in a number of aspects as follow: operation planning; directing; break-even point analysis; profit analysis; dropping a product, product line, or service; budgeting; process improvement; cost management; performance measurement; receivable management; and fixed asset investment were significantly different at the level of .05. Considering the application of accounting information, in the aforementioned aspects except for receivable management, of each of business types firms, sole proprietorship applied accounting information significantly different from body of persons, limited partnership and company limited at the level of .05. Moreover, the results reveal that sole proprietorship employed accounting information in the lower degree than other business types of firms.

Keywords : Small and Medium Enterprises (SMEs), Managerial Accounting Information

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.