การสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทีวีดิจิทัล ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ศุภณิช จันทร์สอง

Abstract


บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1) เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจการเปลี่ยนถ่ายทีวีแอนาล๊อกไปสู่ทีวีดิจิทัล ให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนถ่ายทีวีแอนาล๊อกไปสู่ทีวีดิจิทัล ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้การวิจัยในเชิงคุณภาพนำร่องในการสื่อสารเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการเปลี่ยนถ่ายทีวีแแอนาล็อกไปสู่ทีวีดิจิทัลโดยการจัดสัมมนาเวทีชาวบ้านให้ข้อมูลความรู้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ 16 ตำบล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วใช้ระเบียบวิธีวิจัย 2 ประเภทในการเก็บข้อมูล ซึ่งได้แก่ 1) เป็นการจัดกิจกรรมกลุ่ม เวทีชาวบ้าน เพื่อให้ความรู้และทำความเข้าใจกับชาวบ้านเกี่ยวกับการเปลี่ยนถ่ายทีวีแแอนาล็อกไปสู่ทีวีดิจิทัล และ 2) เป็นการเก็บข้อมูลในเชิงปริมาณเพื่อสำรวจความรู้ความเข้าใจของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 312 คน แล้วอาศัยการประเมินค่าโดยวิธีการวิเคราะห์หาข้อมูลทางสถิติเพื่อวัดผลการดำเนินงานในภาพรวมทั้งหมด ผลการวิจัยพบว่า

            ประชาชนส่วนใหญ่ ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสื่อทีวีดิจิทัลผ่านสื่อโทรทัศน์ประเภทเคเบิลทีวีมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ โทรทัศน์ประเภทฟรีทีวี สื่อหนังสือพิมพ์ เฟสบุค วิทยุกระจายเสียง เว็บไซต์ต่าง ๆ และสำนักงาน กสทช. ตามลำดับ ส่วนใหญ่รับชมสื่อโทรทัศน์ทุกวัน ใช้ระยะเวลาในการรับชมโทรทัศน์ต่อครั้ง
คือ 1 - 2 ชั่วโมง ส่วนใหญ่ชมโทรทัศน์ (จันทร์ – อาทิตย์) ในช่วงเวลา 18.01 - 21.00 น. โดยมีวัตถุประสงค์ในการเปิดรับสื่อโทรทัศน์เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ประเภทรายการที่รับชมมากที่สุด คือ ละคร ส่วนใหญ่ใช้ช่องทางในการรับชมสื่อโทรทัศน์ผ่านเคเบิ้ลทีวี และรูปแบบสัญญาณโทรทัศน์ที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่ คือ ระบบดิจิทัล นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่มีคะแนนความรู้ความเข้าใจสื่อทีวีดิจิทัลในภาพรวมเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ : การสื่อสาร, ความรู้, ความเข้าใจ, ทัศนคติ, ทีวีดิจิทัล

 

Abstract

            This research is aimed 1) to provide and enhance knowledge and understanding about the changing of analog TV to digital TV to people who live in Chiang Mai and 2) to study the knowledge and understanding about Digital TV of people who live in Chiang Mai. The sample group consists of 312 people who live in the city of Chiang Mai, 16 Tambols. Firstly, the sample group was provided knowledge and understanding, by seminar and community setting, about the changing of analog TV to digital TV in Thailand by the key informants from NBTC. Then the questionnaires were administered to collect data which, in turn, were analyzed using frequency and percentage.

            The results can be concluded that the scores of the knowledge and understanding about the changing of analog TV to digital TV of people who live in Chiang Mai are higher than the overall average score, which is higher than the level of statistical significance .01. It is showed that most people got information about digital TV via cable television, then free TV, newspaper, facebook, radio, and NBTC website.

Keywords : Communication, Knowledge, Understanding, Attitude, Digital TV


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.