คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบุคลากรตามความต้องการของผู้บริหารโรงแรมในจังหวัดลำปาง

ปัณณทัต กัลยา, กนกอร ศิริฐิติ, สยุมภู อุนยะพันธ์, เกศณีย์ สัตตรัตนขจร

Abstract


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อจำแนกคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบุคลากรตามความต้องการของผู้บริหารโรงแรมในจังหวัดลำปาง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารโรงแรมในจังหวัดลำปาง ที่ดำรงตำแหน่งผู้จัดการแผนกต้อนรับส่วนหน้า ผู้จัดการแผนกแม่บ้าน ผู้จัดการแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่ม ผู้จัดการทั่วไป และผู้จัดการแผนกบุคคล จำนวน 112 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างนี้คือแบบสอบถาม ที่ตรวจสอบความน่าเชื่อถือจากผู้เชี่ยวชาญ และผ่านการทดสอบทางสถิติเพื่อวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือด้วยการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค ที่ค่าความคลาดเคลื่อนที่ 0.05 และได้ค่าความเชื่อมั่น 0.997 ร่วมกับแบบสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 ตัวอย่าง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงทั้งการเก็บแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา (ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติเชิงอนุมาน (Independent sample t-test และ One-way ANOVA) ที่ค่าความเชื่อมั่น 0.05 โดยผลการวิจัยมีดังนี้

            กลุ่มตัวอย่างมีความพึงประสงค์ต่อพนักงาน ในด้านพุทธิพิสัยคือความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่โดยรักษาระเบียบด้านความปลอดภัยและสุขอนามัย ด้านจิตพิสัยคือความสามารถทำงานในสภาพสังคมที่หลากหลายได้ เหมือนกันทุกแผนก ส่วนด้านทักษะพิสัยคืองานส่วนหน้ามุ่งเน้นในความสามารถในการทำงานร่วมกันระหว่างเพื่อนร่วมงานและลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้บริหารงานแม่บ้านต้องการบุคลากรที่มีความเป็นผู้มีความอดทนอดกลั้น รู้จักกาลเทศะและผู้บริหารงานบริการอาหารและเครื่องดื่มมุ่งเน้นความสามารถในการส่งเสริมการบริการ การขายสินค้า และการต้อนรับ และนอกจากคุณสมบัติข้างต้นแล้วผู้บริหารได้ให้ข้อคิดว่า พนักงานควรมีความรู้ตามตำแหน่งงาน มีภาษาดี บุคลิกภาพดี และเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมร่วมด้วย

คำสำคัญ : คุณลักษณะที่พึงประสงค์, บุคลากร, จังหวัดลำปาง

 

Abstract

The research aimed to classify desirable characteristics of personnel preferred by hotel’s executives in Lampang Province. Samples were 112 hotel executives who hold the title of Manager in Front office, Housekeeping, Food and Beverage Service, Personnel Departments and, General Manager. Research instruments were questionnaire which approved for its confidence by research expertise as well as an application of Cronbach’s Coefficient Alpha-0.05 standard error and got 0.997 score together with extra 10 samples for In-depth Interview. Sampling techniques was purposive sampling for both questionnaires and in-depth Interview. A data analysis used descriptive statistics (Mean and Standard Deviation) and inferential statistics (Independent sample t-test and one-way ANOVA) at 0.05 level of confidence.

The research results found that in cognitive domain the most desirable characteristics was to maintain in hygiene and safety protocol. In affective domain, it was ability to work with a social diversification and, Psychomotor domain was focused on working between colleagues and customers effectively. Furthermore, the housekeeping executives focused on patience and appropriate manners in every circumstances. Food and Beverage executives focused on ability to have a service delivered, selling products and welcoming guests. Besides, the entire desirable characteristics, all hotel executives also gave supplement opinions such as knowledge on tasks, good language, good personality traits, virtues and, ethics.

Keywords : Desirable Characteristics, Personnel, Lampang Province

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.