ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีฃององค์การ : กรณีศึกษาสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

ธีรพงศ์ โพธิ์เจริญ, มนตรี พิริยะกุล, ประยงค์ มีใจซื่อ

Abstract


           การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เซิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม การเป็นสมาซิกที่ดีขององค์การ และเพื่อศึกษาระดับความยุติธรรมในองค์การ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความพึงพอใจในงาน ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาซิกที่ดีขององค์การ โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือ ประซากรคือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัดสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน 210 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมานด้วยสมการโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีช่วงอายุระหว่าง 31-40 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีและส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ ในสำนักบริหารกลางที่มีอายุการทำงานต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งได้รับเงินเดือน 10,001-15,000 บาท
           ผลการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง พบว่า ความยุติธรรมในองค์การมีอิทธิพลในทิศทางบวกต่อการรับรู้ การสนับสนุนจากองค์การ และมีอิทธิพลในทิศทางบวกต่อความพึงพอใจในงานต่อความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรม การเป็นสมาซิกที่ดีขององค์การ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีอิทธิพลทางบวกต่อความพึงพอใจในงาน และความผูกพัน ต่อองค์การ ความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลในทิศทางบวกต่อพฤติกรรมการเป็นสมาซิกที่ดีขององค์การ ลำดับสุดท้าย ความผูกพันต่อองค์การมีอิทธิพลในทิศทางบวกต่อพฤติกรรมการเป็นสมาซิกที่ดีขององค์การ
คำสำคัญ : ความยุติธรรมในองค์การ, การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ, ความพึงพอใจในงาน, ความผูกพันต่อองค์การ, พฤติกรรมการเป็นสมาซิกที่ดีขององค์การ

           The purpose of research was to study casual relationships of factor a effecting toward organizational citizenship behaviors and to study the level of organizational justice, perceived organizational support, job satisfaction, organizational commitment and organizational citizenship behaviors. The research tool was in questionnaire format and population was 210 personnel working at various units of the Secretariat of the Prime Minister. The research analysis was carried out with descriptive and inferential statistics with structural equation model.
           The outcomes of research revealed that most respondents were female, with undergraduate educational level, with age between 31-40 years old, with civil servants working in the Bureau of Central Administration, with working tenure of less than five years and with monthly salary between 10,000 and 15,000 Baht
           The outcome of structural equation model analysis revealed that organizational justice had positive effect toward perceived organizational support, job satisfaction, organizational commitment and organizational citizenship behaviors. It also revealed that perceived organizational support had positive effect toward job satisfaction and organizational commitment. The job satisfaction also had positive effect toward organizational citizenship behaviors. Finally, the organizational commitment also had positive effect toward organizational citizenship behaviors.
Keywords: Organizational Justice, Perceived Organizational Support, Job Satisfaction,Organizational Commitment, Organizational Citizenship Behaviors


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.