ความผูกพันของพนักงานในอุตสาหกรรมเซรามิกของจังหวัดลำปาง

ปริยนุช ปัญญา, สุจินดา เจียมศรีพงษ์, ไพศาล ริ้วธงชัย, สุกิจ ขอเชื้อกลาง

Abstract


บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้ศึกษาถึงความผูกพันของพนักงานในอุตสาหกรรมเซรามิกของจังหวัดลำปาง โดยมีจุดมุ่งหมายในการวิจัย 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความผูกพันของพนักงานในอุตสาหกรรมเซรามิกจังหวัดลำปาง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานในอุตสาหกรรมเซรามิกในจังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานในอุตสาหกรรมเซรามิกจังหวัดลำปาง จำนวน 734 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณาได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงด้วยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ

            จากการศึกษาความผูกพันของพนักงานในอุตสาหกรรมเซรามิกของจังหวัดลำปางพบว่า พนักงานในอุตสาหกรรมเซรามิกจังหวัดลำปางมีความผูกพันต่อองค์กรในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกตามลำดับขั้นความผูกพันพบว่า ด้านความต้องการพื้นฐานอยู่ในระดับมาก ด้านการสนับสนุนทางการบริหารอยู่ในระดับมาก ด้านสัมพันธภาพอยู่ในระดับมาก ด้านความก้าวหน้าในงานอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกตามขนาดของธุรกิจพบว่าพนักงานในอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดเล็กมีความผูกพันต่อองค์กรในระดับมาก สำหรับพนักงานในอุตสาหกรรมเซรามิกขนาดกลางและขนาดใหญ่มีความผูกพันต่อองค์กรในระดับปานกลาง

            ในการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันของพนักงานในอุตสาหกรรมเซรามิกในจังหวัดลำปาง พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของพนักงานประกอบด้วย ความเหมาะสมของงาน หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน ความท้าทายในงาน องค์กรเห็นคุณค่า ความยุติธรรมของผู้บริหาร การสื่อสารในองค์กรและโอกาสในการเจริญก้าวหน้า โดยปัจจัยที่มีค่าความสัมพันธ์มากที่สุดคือ ความท้าทายในงาน รองลงมาคือ ความเหมาะสมของงาน องค์กรเห็นคุณค่า และหัวหน้างาน ปัจจัยที่มีค่าความสัมพันธ์น้อยที่สุดคือ โอกาสในการเจริญก้าวหน้า

คำสำคัญ : ความผูกพันของพนักงาน อุตสาหกรรมเซรามิก จังหวัดลำปาง

 

Abstract

            This research studies engagement of employees in ceramics industrial factories in Lampang. The objectives of this study are, firstly, to study engagement level of employees in ceramics industry in Lampang. Secondly, the objective is to study factors that related to engagement of employee in ceramics industrial factories in Lampang. Sampling group is 734 employees from ceramics factories. The research tools for the collection of quantitative data was a set of questionnaires. The data analysis was conducted to find percentage, average, standard deviation and inferential statistics analysis with correlation analysis and multiple regression analysis.

            The study of engagement level of employees in ceramics industrial factories in Lampang indicates that employees in ceramics industry is at the moderate level . Follow by hierarchy of engagement finds that basic need, management support, and relatedness are at high level. Work progress is at the moderate level. When considering from the size of firms, it shows that employees in small firms are at high level. Employees in medium firms and large firms have engagement in the moderate level.

            Factors that related with engagement of employees in ceramics industrial factories in Lampang are properly, leader, colleague, challenge, value, fairness, communication, and advancement. The significant respectively are challenge, properly, value, and supervisor.The factor that has the least relationship is advancement.

Keywords : Employee Engagement, Ceramics Industry, Lampang

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.