ตัวแบบการถ่ายโอนความรู้ ของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย

ลัสดา ยาวิละ, ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ, นิลุบล ศิวบวรวัฒนา, ชาตรี ปรีดาอนันทสุข

Abstract


บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการถ่ายโอนความรู้ และสร้างตัวแบบ
การถ่ายโอนความรู้ ของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อทำการทดสอบ ยืนยันตัวแปรจากกรอบแนวคิดการวิจัยในบริบทของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย โดยการสัมภาษณ์ในเชิงลึก กับ กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้บริหารในบริษัทผู้ผลิตอาหารในประเทศไทยจำนวน 6 ราย และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณจากการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการถ่ายโอนความรู้ โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regressions) กับกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 293 ราย ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยความรู้ด้านความรู้ที่ฝังลึก เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการถ่ายโอนความรู้มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ปัจจัยทรัพยากรมนุษย์ด้านการจูงใจ ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การด้านความไว้วางใจ ปัจจัยเทคโนโลยีสารสนเทศด้านความเหมาะสมในการใช้เครื่องมือ ปัจจัยความรู้ด้านความรู้ที่เปิดเผย และปัจจัยโครงสร้างองค์การด้านความเป็นทางการ ตามลำดับ หลังจากนั้นผู้วิจัยได้สร้างตัวแบบการถ่ายโอนความรู้ ซึ่งเกิดจากการนำแนวคิดการถ่ายโอนความรู้จากแนวคิด Szulanski แนวคิด Nonaka & Takeuchi และผลปัจจัยที่ส่งผลต่อการถ่ายโอนความรู้จากวิธีวิจัยในเชิงปริมาณ มาบูรณาการ เป็นตัวแบบการถ่ายโอนความรู้ของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย

คำสำคัญ : การถ่ายโอนความรู้, ตัวแบบการถ่ายโอนความรู้, อุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย

 

Abstract

            The objectives of this research were to investigate the factors that affect to knowledge transfer and to create knowledge model of food industry in Thailand. Mixed model was used in this research. Qualitative method was to test and confirm a conceptual framework by In- depth interview sample groups who were administrators in foods producer company in Thailand which were conducted with 6 key informants. A quantitative method was used by collecting data from questionnaire. Multiple regression was used to analyze the data on the samples of 293 from food industry in Thailand. The results have shown that factor of Knowledge in Tacit Knowledge affects the most to knowledge transfer followed by the Human Resource in Motivatation, Cultural Organization in Trust, Information Technology in Suitable of IT tool, Knowledge in Explicit knowledge and Organization Structure in Formalization respectively. And then creating knowledge transfer model was built from Szulanski Concept , Nonaka & Takeuchi concept and the factor that affects to knowledge transfer from quantitative method were integrated to Knowledge transfer model in food Industry in Thailand.

Keywords : Knowledge Transfer , Knowledge Transfer Model , Food Industry in Thailand.

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.