ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

วัชราภรณ์ ขายม, มนตรี พิริยะกุล, ประยงค์ มีใจซื่อ

Abstract


           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครโดยทำการสำรวจ จากผู้บริโภควัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 25-60 ปี และเป็นผู้ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติอนุมาน วิเคราะห์สมการโครงสร้าง
           ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศขาย มีอายุระหว่าง 25-33 ปี ส่วนใหญ่ มีสถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตริ ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกซน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 20,000 บาท พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ฉลากเชียว พบว่า ประเภทผลิตภัณฑ์ที่เคยซื้อมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ กระดาษ รองลงมาคือ เครื่องเขียนและผลิตภัณฑ์ลบคำผิด ซึ่งมีจำนวนเท่ากัน หลอดฟลูออเรสเซนซ์ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ถ้วยขาม และผลิตกัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ ตามลำดับ ความถี่ในการซื้อมักซื้อตามโอกาส มีค่าใช้จ่ายเพื่อการซื้อระดับปานกลาง ด้วยเหตุผลเพื่อต้องการช่วยลดมลภาวะและรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น รู้จักผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวจากสื่อโฆษณาประเภทวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่ซื้อจากห้างสรรพสินค้า
           ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ฉลากเชียวของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ความรู้ ด้านนิเวศวิทยา และความตั้งใจ มีอิทธิพลอยู่ในระดับมากที่สุด ในส่วนการรับรู้ถึงความรับผิดขอบต่อสังคมขององค์กร ด้านสิ่งแวดล้อม ความไว้วางใจ ทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์ มีอิทธิพลอยู่ในระดับมาก และการคล้อยตามคนรอบช้าง มีอิทธิพล ปานกลาง และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ข้อมูลเซิงประจักษ์ สนับสนุนสมมติฐานการวิจัย ณ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05
คำสำคัญ : การรับรู้ถึงความรับผิดขอบต่อสังคม, ความตั้งใจ, ความไว้วางใจ, ทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์, พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ฉลากเชียว

           The purpose of this research was to study purchasing behaviors of consumers purchasing green label products in the Greater Bangkok Metropolitan area and factors that effecting toward these purchasing behaviors. The sample population was 400 consumers of working age with age between 25-60 years old and who used to purchase green label products in the Bangkok Metropolitan area. The instrument of research was in questionnaire format and the data analysis was conducted using techniques of descriptive statistics and inferential statistics of structural equation path modeling by means of applications of the Partial Least Squares (PLS)-Graph 3.0 software program.
           Outcomes of research revealed that there were more female than male respondents, with ages between 25-33 years old, with single marital status, with undergraduate educational level, with occupation as private company employees, with an average monthly income of not more than 20,000 baht. The green label product purchasing behaviors revealed that the first five level of products purchased were paper products, writing products and error correction products (at the same quantity), fluorescent lights, dish-cleaning products, and sanitary ware products, respectively in descending order. The frequency of purchases was usually depending on occasions and the spending expenditure for the purchases was at a moderate level. The reason for making these purchases was to reduce pollution and to improve environment. They learned of green label products from advertising media on radio, television, and in printed matters. The majority purchased these products was at department stores.
           The effecting factors toward the purchasing behaviors of these consumers who purchased green label products revealed that ecological knowledge and intention had highest effect level. On environmental corporate social responsibility (CSR), trust and attitudes towards products all had high effect level. The subjective norms had effect at moderate level. The outcome of hypothesis test revealed that the empirical data collected supported the research hypotheses at the statistically significant level of .05.
Keywords: Perceived CSR, Intention, Trust, Product Attitude, Subjective Norm, Purchasing Green Label Products


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.