ภาวะการณ์เป็นผู้ประกอบการ การจัดการเชิงรุกและสมรรถนะธุรกิจ ที่มีผลต่อการเติบโตของธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพในประเทศไทย

ปานิซากรณ์ ธรมสอน, บุญฑวรรณ วิงวอน

Abstract


           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นด้านภาวะการณ์เป็นผู้ประกอบการ การจัดการเซิงรุก และสมรรถนะธุรกิจตลอดจนปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพในประเทศไทย เครื่องมือคือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพ จำนวน 300 ราย เป็นการวิจัยเซิงสำรวจ โดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) โดยเทคนิค PLS-Graph
           ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41 - 50 ปี การศึกษาส่วนใหญ่ อยู่ในระดับอนุปริญญาหรือระดับปวส. มีความคิดเห็นด้านภาวะการณ์เป็นผู้ประกอบการ ด้านการจัดการเซิงรุกและ ด้านสมรรถนะธุรกิจระดับมากทุกปัจจัย ยกเว้นด้านการเจริญเติบโตของธุรกิจอยู่ในระดับปานกลาง
           การวิเคราะห์สมการโครงสร้างพบว่าภาวะการณ์เป็นผู้ประกอบการมีอิทธิพลทางตรงต่อการจัดการเซิงรุก มากที่สุด การจัดการเซิงรุกมีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะธุรกิจ และภาวะการณ์เป็นผู้ประกอบการมีอิทธิพลทางตรง ต่อสมรรถนะธุรกิจ สรุปว่าทุกปัจจัยมีอิทธิพลต่อสมรรถนะธุรกิจดังสมมุติฐานที่ตั้งไว้
คำสำคัญ : ภาวะการณ์เป็นผู้ประกอบการ การจัดการเซิงรุก สมรรถนะธุรกิจ การเติบโตของธุรกิจ

           The purpose of the research was to study the opinion level of entrepreneurship, proactive management and business competency, including the effect toward growth of health spa business in Thailand. The research tool was quationnaire. The sampling group was 300 health spa business entrepreneurs. It was the survey research with descriptive statistics to analyze the average mean, standard deviation and inferential statistics to analyze structural equation model with PLS-Graph technique.
           The outcomes of research revealed that the majority of respondents were female, with the average age of 41-50 years old, with the advanced diploma educational level, with opinion on entrepreneurship factor at high level, on proactive management factor at high level, on business competency factor at high level but on the business growth at medium level
           The structural equation analysis revealed that entrepreneurship had direct effect toward the proactive management at highest level, the proactive management had direct effect toward the business competency and the entrepreneurship had direct effect toward business competency. Hence, it concluded that all factors had effect toward the business competency as per developed hypothesis.
Keywords : Entrepreneurship, Proactive Management, Business Competency, Business Growth


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.