กลยุทธ์ในการให้บริการรถโมบายของธนาคารออมสิน สาขาอุบลราชธานี

วรนาท ใจวงศา, วรรณณา ปิยะรัตน์มานนท์

Abstract


           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินกลยุทธ์การให้บริการรถโมบาย และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็น ของผูใซ้บริการต่อกลยุทธ์ที่นำมาใซในการให้บริการรถโมบายของธนาคารออมสิน สาขาอุบลราชธานี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้
           กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าที่ใช้บริการรถโมบาย ของธนาคารออมสินสาขาอุบลราชธานีในเขตพื้นที่อำเภอม่วง สามสิบ และอำเภอตระการพืชผล จำนวน 378 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ แบบสอบถามแบบประมาณ มาตราส่วน 5 ระดับได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .97 สถิติพรรณนาวิเคราะห์ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่า t และการทดสอบค่า F
           ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บริการรถโมบายของธนาคารออมสินสาขาอุบลราชธานี ในเขตพื้นที่อำเภอม่วงสามสิบ และอำเภอตระการพืชผล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 41-50 ปี การศึกษาระดับปริญญาตริ อาชีพรับราชการและ รัฐวิสาหกิจ รายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท กลยุทธ์ในการให้บริการรถโมบายของธนาคารออมสินสาขาอุบลราชธานี ในเขตพื้นที่อำเภอม่วงสามสิบ และอำเภอตระการพืชผล ใช้กลยุทธ์ทางการตลาด 5 ด้าน พบว่า กลยุทธ์ทางการตลาด 5 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากเกือบทุกข้อ มีเพียง ด้านทำเลที่ตั้งและเวลาที่ให้บริการในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
           เปรียบเทียบกลยุทธ์ในการให้บริการรถโมบายของ ธนาคารออมสินสาขาอุบลราชธานี ในเขตพื้นที่อำเภอ ม่วงสามสิบ และอำเภอตระการพืชผล พบว่า จำแนกตาม เพศ พบว่า ลูกค้าที่มีเพศต่างกัน พิจารณากลยุทธ์โนการให้บริการ รถโมบาย ด้านทำเลที่ตั้งและเวลาที่ให้บริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน จำแนกตาม อายุ พบว่า ลูกค้าที่มีอายุต่างกัน พิจารณากลยุทธ์ในการให้บริการรถโมบาย ด้านการสื่อสารกับลูกค้า และด้านกระบวนการให้บริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ด้านเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ด้านอื่นไม่แตกต่างกัน จำแนกตาม ระดับการศึกษา พบว่า ลูกค้า,ที่มีการศึกษา ต่างกัน พิจารณากลยุทธ์โนการให้บริการรถโมบาย ด้านทำเลที่ตั้งและเวลาที่ให้บริการให้บริการและด้านการสื่อสาร กับลูกค้า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน จำแนกตาม อาชีพ พบว่า ลูกค้าที่มีอาชีพ ต่างกัน พิจารณากลยุทธ์โนการให้บริการรถโมบาย ด้านบุคลากร ด้านทำเลที่ตั้งและเวลาที่ให้บริการ และด้านการสื่อสาร กับลูกค้าให้ความสำคัญเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการให้บริการรถโมบาย ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนด้านเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านกระบวนการให้บริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 จำแนกตาม รายได้ต่อเดือน พบว่า ลูกค้าที่มีรายได้ต่างกัน พิจารณากลยุทธ์ ในการให้บริการรถโมบาย ด้านบุคลากร ด้านทำเลที่ตั้งและเวลาที่ให้บริการ และด้านเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวก แตกต่างกันอย่างมินัยสำคัญที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน
คำสำคัญ: กลยุทธ์การให้บริการ, รถโมบาย, ธนาคารออมสิน

           This purpose of the research was to study the mobile car service strategy of the Government Saving Bank, at Ubonratchathani Branch and to compare the user opinions on this strategy of mobile car that classified into gender, age, education level, career and income.
           The research samples were 378 customers who used mobile car service of the Government Saving Bank at Ubonratchathani branch in vicinity of Muangsamsip district and Trakanphuetphon district. The research tool was the questionnaire. The questionnaire was in 5 level scale rating with the reliability confidential level of .97. The statistic of this data analysis was in percentage, standard deviation, t-test and F-test.
           The result of this research was found that most of users in Mobile Car Service of the Government Saving Bank, Ubonratchathani Branch in Muangsamsip District and Trakanphuetphon District were female, at between 41-50 years old, with undergraduate educational level, with occupation as government officers and with monthly income of less than 10, 000 Baht. The mobile car service strategy of the Government Saving Bank, at Ubonratchathani branch in vicinity of Muangsamsip district and Trakanphuetphon district was divided to five marketing strategies and found that most of the five of marketing strategies were at high level with the except of location and time of service which were rate level at moderate.
           The comparison of mobile car service strategy of the Government Saving Bank at Ubonratchathani branch in vicinity of Muangsamsip district and Trakanphuetphon district was found that: In classify by gender, it found the difference of gender among customers with location and time of service was found with .05 statistical difference, but other was with no difference. In classify by age, it found that the difference of customer ages with customers and service procedure was found with statistical difference at .01. In technology and facilities was found with statistical difference at .05, other was with no difference. เท classify by education level was found that the difference of customers education with location and time of service and connection to the customer were with difference at .01, other was with no difference. In classify by career was found that the different career of customer with personal, location and time of service and the connection to the customer was with difference at .01, for technology, facilities and service procedure was with difference at .05. In classify by the income per month was found that the difference income of the customer with personal, location, time of service, technology and facilities was difference at .01, other was with no differ.
keywords: Stategy, Mobile Car Srevice, The Government Saving Bank


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.