ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขัน ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย

สุวรรณา พลอยศรี, ชาตรี ปรีดาอนันทสุข

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย 2) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาได้แก่ ผู้บริหารและคณาจารย์ 296 คน และนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย 304 คน เก็บรวบข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้คือ สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และสมการโครงสร้างด้วยเทคนิค SEM ผลการวิจัยพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อกัน และโมเดลการวิเคราะห์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก ค่าไคสแควร์ เท่ากับ 31.50 ที่องศาอิสระเท่ากับ 28 ค่า p เท่ากับ 0.295 ดัชนี GFI เท่ากับ 0.98 ดัชนี AGFI เท่ากับ 0.93
ค่า RMSEA เท่ากับ 0.022 และค่า SRMR เท่ากับ 0.018 ซึ่งอธิบายได้ว่า ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความสามารถในการแข่งขันของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทยมากที่สุดคือ ด้านลูกค้า (Lcus)
มีอิทธิพลโดยตรง มากที่สุดที่ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 2.81 และ มีอิทธิพลรวมที่ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 2.81 รองลงมาคือด้านกระบวนการภายใน (Lpro) มีอิทธิพลโดยตรงที่ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.11 และ มีอิทธิพลรวมที่ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.11 รวมถึง ด้านคู่แข่งขัน ด้านเศรษฐกิจ และด้านนโยบายของรัฐบาลนั้นยังส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของมหาวิทยาลัยเอกชนในด้านผลการดำเนินงานด้านการเงินมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านผลการดำเนินงานด้านการตลาดและด้านผลการดำเนินงานด้านทรัพยากรมนุษย์ ตามลำดับ

คำสำคัญ : ปัจจัยเชิงสาเหตุ, ความสามารถในการแข่งขัน, มหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย

The purpose of this research is to study factors influencing the competitiveness of private universities in Thailand and to develop the cause and effect model of factors that affects the competitiveness of Thai private universities. The procedure of this dissertation was comprised of quantitative and qualitative research method. The sample size that used in this dissertation was 296administrators and faculty members, and 304students in private universities in Thailand. The statistic methods used in data analysis were Descriptive Statistics Confirmatory Factor Analysis: CFA and Structural Equation Modeling: SEM by Lisrel.

According to the research result, It is found that analysis model employed was congruence with empirical data at a high degree with chi-square=31.50, df=28, P-value=0.295, GFI=0.98, AGFI=0.93, RMSEA=0.022, and SRMR=0.018 successively. It can be descripted by the most important factors affecting the competitiveness of Thai private
universities was customers that have a statistically significant direct effect on the competitiveness (2.81) and total effect (2.81), and internal process has a statistically significant direct effect on the competitiveness (0.11) and total effect (0.11). The result from qualitative method found that competitor, economy and government policy affect most to private universities’ financial performance while marketing and human resource management affect less.

Keywords : The causal Factors, The Competitiveness , Thai Private Universities.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.