กระบวนการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์เพื่องานนิเทศศาสตร์

บุษยากร ตีระพฤติกุลชัย

Abstract


งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Research) ที่ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหากระบวนการและกิจกรรมพัฒนาการคิดสร้างสรรค์เพื่องานนิเทศศาสตร์ที่เหมาะสมกับนักศึกษานิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ผู้วิจัยทำการศึกษาวิจัยในชั้นเรียนโดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จำนวน 76 คน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณคือแบบสำรวจความคิดเห็น เครื่องมือการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพประกอบด้วยการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์เอกสาร

            ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีประโยชน์ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทั้ง 10 กิจกรรมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมของความคิดเห็นเท่ากับ 3.71 กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ กิจกรรมการวิเคราะห์เพลง (มีค่าเฉลี่ย 3.56) กิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ เกมส์ฝึกเพิ่มปริมาณความคิดและกิจกรรมการนำเสนอความคิดดีเด่น (มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน เท่ากับ 3.81)

            ผลการศึกษาเชิงคุณภาพสอดคล้องกับผลการศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 8 คนให้สัมภาษณ์ว่ามีความเห็นว่ากิจกรรมการเรียนการสอนทั้ง 10 กิจกรรมมีประโยชน์ในการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์มาก ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์โดยประมวลผลร่วมกันระหว่างผลการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กิจกรรมที่มีประโยชน์สูงสุด 3 อันดับในความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างคือ 1) เกมส์ฝึกเพิ่มปริมาณความคิด 2) การทำโครงงาน และ 3) การนำเสนอความคิดดีเด่น

            กระบวนการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์เพื่องานนิเทศศาสตร์ต้องสนับสนุนให้นักศึกษาได้เรียนรู้ภาคทฤษฎีควบคู่ภาคปฏิบัติ โดยเน้นภาคปฏิบัติมากกว่าภาคทฤษฎี สร้างสรรค์กิจกรรมฝึกปฏิบัติที่หลากหลาย สนับสนุนให้ผู้เรียนใช้สื่อเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ กระบวนการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ได้แก่ การเตรียมการ การครุ่นคิด การจุดประกายความคิด และการพิสูจน์ทดสอบ

คำสำคัญ : การพัฒนา, ความคิดสร้างสรรค์, นิเทศศาสตร์

This research was a classroom action research applying mixed methodology. The objective of this research was to find a suitable creative thinking development process and activities for 1st year Communication Arts students.

            The sample group of this research was a population of 1st year Communication Arts students, Lampang Rajabhat University with the total numbers of 76 students. The research tools consisted of a survey form for quantitative method, observations, in-depth interviewing of 8 student representatives, and document analysis for qualitative method.

            The quantitative research results showed that, the sample group thought all 10 activities done in class were highly useful. The overall mean towards all activities equaled 3.71. The lowest mean was towards a song analyzing activity (the mean equaled 3.56). The highest means were the means towards a game to increase a number of thoughts and towards good idea presentations (the means both equaled 3.81).

            The qualitative research results conformed to the quantitative research results. The 8 student representatives mentioned that, in their opinions, the 10 activities were very useful in developing creative thinking. The most useful activities in the students’ opinions were 1) a game to increase a number of thoughts 2) a project production and 3) a ‘good idea’ presentation.

            A suitable creative thinking development process for 1st year Communication Arts studentห should be a process to promote students to learn theories together with practicing, but should focus more on practicing. A lecturer should create various activities for practicing and supporting students to apply technological media in their study and activities. The creative thinking development process must compose of preparation, thought analyze, thought synthesizing, and thought confirmation.

Keywords : Development, Creative Thinking, Communication Arts


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.