ปัญหาการกระจายอำนาจทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบเทศบาลในประเทศไทย

ปริณดา มีฉลาด

Abstract


           การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาการกระจายอำนาจทางการคลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในมุมมองของผู้ปฏิบัติ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพผสมผสานกับการวิจัยเชิงปริมาณ ผ่านการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้บริหารเทศบาลจำนวน 12 แห่งที่เป็นตัวแทนของเทศบาลควบคู่กับการศึกษาข้อมูลสถิติทางการคลังย้อนกลัง 3 ปี และทำการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของปัญหาที่เกิดขึ้นจากค้นพบ
           ผลการศึกษา พบว่า เทศบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นทุกปีแต่กลับสวนทางกับความเป็นอิสระทางการคลัง เนื่องจาก เทศบาลยังคงประสบปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับการดำเนินการตามภารกิจ สาเหตุสำคัญ คือ เทศบาลมีอำนาจในการจัดเก็บ รายได้ของตนเองไม่กี่ประเภทและยังคงจัดเก็บในอัตราที่จำกัด รวมถึงประชาชนและนักการเมืองในพื้นที่มีส่วนร่วม ในการเสียภาษีไม่เพียงพอ ทำให้เทศบาลต้องพึ่งพารายได้จัดสรรและเงินอุดหนุนจากรัฐบาล นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบ ขนาดของเทศบาลมีผลต่อปัญหาการกระจายอำนาจทางการคลังที่แตกต่างกัน โดยเทศบาลตำบลมีข้อจำกัดจาก ขีดความสามารถในการจัดเก็บรายได้ของตน ในขณะที่เทศบาลเมืองมีปัญหาจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง ซึ่งเทศบาลนครกลับมีปัญหาการขาดความอิสระในการบริหารงบประมาณรวมถึงปัญหาจากกฎระเบียบและการกำกับ ดูแลของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินไม่สะท้อนถึงสภาพการดำเนินภารกิจของเทศบาล ซึ่งปัญหาดังกล่าวไม่สะท้อน ถึงความเป็นอิสระทางการคลังของเทศบาล
           ข้อเสนอแนะที่สำคัญจากการวิจัย คือ ควรปรับปรุงแนวนโยบายการกระจายอำนาจทางการคลังด้านรายได้ โดยเร่งผลักดันกฎหมายรายได้ท้องถิ่น และหาแหล่งรายไดใหม่เพิ่มเติมเพื่อลดการพึ่งพิงภาครัฐ ควบคู่กับการส่งเสริม ความเป็นอิสระทางการคลังในด้านรายจ่าย โดยยกเลิกกฎระเบียบบางประการที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน
คำสำคัญ : ปัญหาการกระจายอำนาจทางการคลัง, ความเป็นอิสระทางการคลัง, เทศบาล

           The purpose of this research was to study the problems in fiscal decentralization to local administration from operation aspect by relied on qualitative research of in-depth interviews with 12 municipal clerks and the study of statistical information on previous 3 fiscal years, then conducting interview with all relevant stakeholders in order to probe the reliability of the problems from municipal clerks' biases and personal opinions.
           The outcomes of study revealed that municipal’s incomes had increased every year which against the fiscal autonomy. Since they still confronted with the insufficient incomes to support their operation as stipulated on their mission statement. The key causes were they had be authorized to collect their incomes only on certain categories and at limited rates, together with the insufficient tax payments from relevant citizens and politicians. It led municipal to rely on the allocated incomes and financial supports from the government. Furthermore, from the comparing of difference size of municipals against problems in fiscal decentralization, it revealed that the sub-district municipals had limitation from their ability in collecting incomes, while town municipals had problem from the political intervention. เท turn city municipals had problem from the lacking of independence in budget management, including the problem on regulations and controls were not reflected their operation conditions and their fiscal autonomy.
           The key recommendations from the research were that the adjusting of fiscal decentralization policy on incomes by pushing the local incomes acts and the finding of additional new source of incomes in order to minimize the government dependency, including the supporting of fiscal autonomy on expenditure by repealing certain obstacle regulations against their operations.
Keywords: Problems in Fiscal Decentralization, Fiscal Autonomy, Municipal


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.